เมื่อโซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่แห่ง “การปลุกปั่น” สร้างความเกลียดชัง

เมื่อโซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่แห่ง “การปลุกปั่น” สร้างความเกลียดชัง

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

เมื่อโซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่แห่ง “การปลุกปั่น” สร้างความเกลียดชัง

เคยตั้งคำถามกับตัวเองบ้างหรือไม่? ว่าทุกวันนี้เราเสพติดเรื่องดราม่าในโซเชียลมีเดียกันมากเกินไปหรือเปล่า เพราะเมื่อใดก็ตามที่มือได้สัมผัสมือถือ จะต้องแวะเช็กโซเชียลมีเดียด้วยทุกครั้งทั้งที่มันไม่ได้แจ้งเตือนอะไร หรือแม้ว่าจะอยู่กับเพื่อนอยู่กับครอบครัว ก็ยังไม่วายนั่งไถฟีดโทรศัพท์ ไม่สนใจคนรอบข้างเลย

เช่นเดียวกัน สังคมยุคนี้อุดมไปด้วยเรื่องดราม่า และเราก็เสพติดมันมากเสียด้วย เพราะหนึ่ง การตามอ่านเรื่องฉาว ๆ ของชาวบ้านมันสนุก สอง มันสะดวกต่อการแสดงความคิดเห็น สาม ความคิดเห็นที่แรง ๆ มันจี้ใจดำในลักษณะที่เรียกกันว่า “ทัช” มาก ยิ่งทัชมากเท่าไร เราก็ยิ่งรู้สึกว่ามันใกล้ตัว เข้าอกเข้าใจ จนอยากจะเข้าไปมีส่วนร่วม

และเคยสังเกตหรือไม่ว่า การใช้งานโซเชียลมีเดียทุกวันนี้มันไม่สนุกเหมือนเมื่อก่อน ที่จริงแล้วมันไม่ใช่แค่ไม่สนุก แต่มันถึงขั้น “เป็นพิษ” เลยทีเดียว เราจะเห็นว่าเมื่อมีต้นเรื่อง ซึ่งก็ยังไม่มั่นใจว่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน ก็จะมีทั้งคนเห็นด้วยและเห็นต่าง มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อจากนั้นเยอะแยะมากมาย

เมื่อไล่ดู จะเห็นว่าส่วนน้อยเข้ามาช่วยแก้ไขข้อมูล ให้ความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ต้นเรื่องอาจเข้าใจบิดเบือนอย่างผู้มีการศึกษา แต่ก็มีไม่น้อยที่มาในลักษณะกระแนะกระแหน เสียดสี ด่าทอ หรือให้ถ้อยคำหยาบคายแบบไม่มีเหตุมีผล จนบางครั้งก็ไม่ใช่ปัญหาระหว่างคน 2 คน แต่เป็นทุกคนที่เห็นโพสต์นั้น และลามไปถึงบุพการีของแต่ละฝ่ายก็มีมาแล้ว

เมื่อโซเชียลมีเดียรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรามากจนเกินไป

กรณีนี้ถูกพูดถึงโดย Tim Cook CEO ของ Apple ที่ออกแถลงการณ์ผ่านการประชุมออนไลน์เรื่อง Computers, Privacy and Data Protection conference เนื้อหาเป็นเรื่องของความเป็นส่วนตัว และการปกป้องข้อมูล เขาวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาว่าการที่โซเชียลมีเดียมีข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานมากเกินไป มันเหมือนการละเมิดความเป็นส่วนตัว สามารถทำลายความไว้วางใจของผู้ใช้งาน แถมยังปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรง จนเกิดเป็น “หายนะทางสังคม”

แม้ว่า Tim Cook จะไม่ได้เอ่ยชื่อแพลตฟอร์มใด ๆ ออกมา แต่สังคมรู้ดีว่า Apple และ Facebook มีข้อพิพาทระหว่างกันอยู่ ความเคลื่อนไหวของ Apple ในขณะนี้ กำลังเตรียมที่จะใช้การแจ้งเตือนความเป็นส่วนตัว (privacy notifications) เชื่อว่าจะผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียบางส่วนจะปฏิเสธคำขออนุญาตให้ระบบเข้าถึงข้อมูลบางอย่าง ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายโฆษณา

แต่การร้องขอให้เรากดตกลงให้ระบบเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว มักจะมีคำอ้างในทำนองว่า “เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบ เพื่อตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้งาน” แน่นอนว่าบางคำขอ ถ้าเราไม่กดตกลง เราก็เข้าใช้งานไม่ได้ มันจึงเป็นการบังคับกลาย ๆ ว่าถ้าจะใช้งานก็ต้องกดตกลง เพราะไม่มีทางเลือกอื่น และทันทีที่นิ้วเราสัมผัสกับปุ่มตกลง ข้อมูลส่วนตัวของเราที่ระบบเรียกร้อง จะวิ่งเข้าหาระบบของโซเชียลมีเดียทันที

สิ่งที่เป็นตัวตามติดชีวิตการใช้งานโซเชียลมีเดียนั้น คือ อัลกอริทึม ซึ่งทำงานโดยการประมวลผลจากพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียของผู้ใช้ อัลกอริทึมของโซเชียลมีเดียเจ้าดังเข้าถึงมีข้อมูลส่วนตัวของเราได้เกือบทั้งหมด ทั้งประวัติ ความชอบ ความสนใจ ตอนนี้อยากซื้ออะไร เมื่ออัลกอริทึมจับข้อมูลส่วนนี้ได้ มันจะเริ่มเรียกข้อมูลตามที่พฤติกรรมการใช้งานของเราขึ้นมาปรากฏตรงหน้า เพราะมันเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่เราต้องการ บางครั้งเราแค่หาข้อมูลนิด ๆ หน่อย ๆ แต่การกดค้นหาเพียงครั้งดียว เราจะเห็นโฆษณาที่พูดถึงแต่สิ่งนั้นจนน่ารำคาญ

เพราะเราใช้งานโซเชียลมีเดียได้ฟรี แต่เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียไม่ได้เป็นนักบุญที่ทำธุรกิจโดยไม่แสวงหาผลกำไร ในเมื่อเขาเก็บเงินจากเราไม่ได้ เขาก็จะขายความสนใจของเราให้กับที่อื่น ที่ซื้อพื้นที่ในโซเชียลมีเดียทำการตลาดดิจิทัล เพื่อยิงโฆษณาสิ่งที่เราสนใจให้เราเห็น ถ้าเรายังสนใจอยู่จนกดเข้าไปซื้อ ก็จะวนเวียนเป็นวัฏจักร เงินก็จะเข้ากระเป๋าเจ้าของแพลตฟอร์มได้อยู่ดี

รายงานของ Hootsuite ซึ่งสรุปการใช้งานอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียของคนทั่วโลก พบว่าในปี 2020-มกราคม 2021 โซเชียลมีเดียเกือบทุกแพลตฟอร์มกลายเป็นพื้นที่ที่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง วัดจากตัวเลขของการบล็อกแอคเคาต์ที่เพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมาก

ข้อมูลการใช้โซเชียลมีเดีย Facebook ของไทย พบว่าภาษาไทย ติดอันดับภาษาที่ 12 ที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากถึง 55,000,000 User เป็นอีกข้อพิสูจน์ว่าคนไทยติดเฟซบุ๊กมากแค่ไหน ส่วนความนิยมแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ จาก Twitter Reach Rankings ไทยก็ติดอยู่อันดับที่ 13 มีตัวเลขการเข้าถึงอยู่ที่ 7,350,000

เมื่อโซเชียลมีเดียเป็นอาวุธในการปั่นกระแส

อย่างที่บอกว่าโซเชียลมีเดียสามารถเข้าถึงข้อมูลความสนใจของเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง ศาสนา ซึ่งประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นอ่อนไหว เมื่อระบบรู้ว่าเราฝักใฝ่ฝ่ายไหน ก็จะจัดข้อมูลของฝ่ายนั้นมาให้เราได้เสพกันอย่างจุใจ เสพจนมันเริ่มฝังหัว กลายเป็นห้องเสียงสะท้อนที่ได้ยิน ได้รู้ ได้เห็นข้อมูลอยู่เพียงด้านเดียว เมื่อคนเริ่มจมอยู่กับความเชื่อหนึ่งที่ฝังหัว ก็ยากที่จะเปิดตาเปิดใจรับข้อมูลในอีกด้าน กลายเป็นว่าในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจะมีผู้ร่วมสงครามอย่างน้อย ๆ 2 ขั้ว โจมตีกันไปมา เพราะเชื่อไปแล้วว่าสิ่งที่ตัวเองรู้เป็นความจริง

นี่คือสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนว่าโซเชียลมีเดียเป็นอาวุธที่ใช้เพื่อปั่นกระแส ปลุกปั่นให้คนที่คิดไม่เหมือนกันมาพบเจอกัน จนทำให้ทัศนคติทางการเมือง ลามไปจนถึงความสัมพันธ์ของผู้คนมีปัญหา เราสามารถพิมพ์ด่าอีกฝ่ายที่เห็นต่างได้อย่างเผ็ดร้อนทั้งที่ไม่ได้รู้จักกัน

สิ่งที่เกิดขึ้นตอบคำถามที่ว่า เหตุใดการใช้งานโซเขียลมีเดีนับวันก็ยิ่งเหนื่อย นับวันยิ่งเป็นพิษ ก็เพราะ “ทฤษฎีสมคบคิดและการยั่วยุที่รุนแรง” อยู่เบื้องหลังสงครามคีย์บอร์ด ยั่วยุปลุกปั่นให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามามีส่วนร่วม เพียงเพราะต้องการเพิ่มยอดการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานเท่านั้นเอง

เพราะโซเชียมีเดียเป็นพื้นที่แห่งการบิดเบือนข้อมูลและการสมคบคิด ข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลจากอัลกอริทึม แต่เราไม่สามารถที่จะเพิกเฉยกับเทคโนโลยีได้อีกต่อไปว่ามันดีต่อผู้ใช้งาน เพราะสิ่งที่ต้องการคือตัวเลขของการมีส่วนร่วม แต่ไม่ได้การันตีว่าการมีส่วนร่วมนั้นเป็นการมีส่วนร่วมที่ดี ทั้งหมดมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

ไม่เพียงแต่ Tim Cook ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์โซเชียลมีเดียเจ้าดัง แต่ Bill Gates CEO แห่ง Microsoft’s ก็วิจารณ์โซเชียลมีเดียเจ้าดังอย่างรุนแรงเช่นกันว่าโซเชียลมีเดียกลายเป็นเครื่องมือที่เผยแพร่ความคิดที่บ้าคลั่ง ไม่มีอะไรที่สร้างสรรค์ และปลุกปั่นให้สถานการณ์มันแย่ลงกว่าเดิม

ความสัมพันธ์ของผู้คนย่ำแย่เกินจากการแบ่งขั้ว

การสร้างทฤษฎีสมคบคิด มีพื้นฐานมาจากการนำสิ่งที่หลายคนสงสัยมาสร้างเรื่องราว เมื่อคนเรามีชุดความคิดเดิมเป็นพื้นฐาน เมื่อมีอะไรมาตอบข้อสงสัยก็พร้อมที่จะเชื่อ ยิ่งมีเชื่อกันเป็นกลุ่มก้อน ก็ยิ่งเชื่อกันง่ายกว่าเดิมเป็นวงกว้าง เพราะมีแต่คอมเมนต์ที่สนับสนุน โดยไม่คิดที่จะตรวจสอบแหล่งข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล ตรวจสอบว่ามันเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน

เพราะข้อมูลที่ส่งมาจะมีเฉพาะข้อมูลที่อยากให้เราเชื่อ ส่วนตัวเราเองก็เลือกที่จะเชื่อ เพราะมีชุดความคิดนี้อยู่ในหัวอยู่แล้ว ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงนี้ ช่องทางที่พอจะรับรูเรื่องราวจากโลกภายนอกจึงเป็นสื่อโซเชียลมีเดีย แต่ข้อมูลในนั้นก็ประเมินไม่ได้ว่าเป็นข้อมูลมีคุณภาพเชื่อถือได้ หรือเป็นเพียงข่าวลวงที่เรียกยอดกดไลก์ กดแชร์ คนติดตาม ที่สูงมากจะน่ากลัว

ด้วยเราต่างมีสภาพจิตใจที่หวั่นไหวได้ง่ายเพราะเรื่องโรคระบาด เรื่องเศรษฐกิจ หลายคนเสพข่าวมากจนอาจขาดวิจารณญาณในการคิดวิเคราะห์ เรื่องไหนจริง เรื่องไหนลือ อ่านข่าวตามข่าวจนหัวร้อน พอมีอะไรที่ไม่ถูกใจนิดหน่อยก็พร้อมบวกทุกคน จนไม่ได้มีการกลั่นกรองคำพูดใด ๆ รวมถึงปล่อยวาจาด่าทอว่าร้าย แสดงความเกลียดชังคนอื่นอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการทำร้ายจิตใจ สร้างบาดแผลภายในใจของผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง เพียงแค่แลกมากับความรู้สึกสะใจเท่านั้นเอง

แล้วทีนี้เห็นหรือยังว่าอิทธิพลของโซเชียลมีเดียมันกลืนกินเราไปมากขนาดไหน

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย เอ็นโอไอ ไอทีจีเนียส
เข้าชม 942 ครั้ง

คำค้นหา : โซเชียลมีเดียเรื่องดราม่าtim cookappleหายนะทางสังคมfacebookอัลกอริทึมการตลาดดิจิทัลhootsuitetwitterbill gatesโรคระบาด