จัดการฐานข้อมูลด้วย Microsoft Excel ประยุกต์ใช้สูตรเพื่อจัดการฐานข้อมูล

จัดการฐานข้อมูลด้วย Microsoft Excel  ประยุกต์ใช้สูตรเพื่อจัดการฐานข้อมูล

ในระหว่างการทำงานกับฐานข้อมูลคุณเคยมีประสบการณ์แบบนี้หรือไม่? วันเดือนปีถูกเก็บอยู่ในรูป yyyymmdd ต้องเสียเวลามานั่งแก้ไขแต่ละเซลล์ให้อยู่ในรูป d/m/yyyy ไม่สามารถคำนวณหาระยะเวลาระหว่างวันเดือนปีที่เริ่มต้นจนถึงวันเดือนปีปัจจุบันได้เพราะเนื่องจากผู้ใช้กรอกวันเดือนปีโดยใช้ปีพุทธศักราช

  • คำนวณหาผลต่างของระยะเวลาแล้วพบว่าเลขนาทีเกิน 60 นาที หรือไม่สามารถคำนวณหาระยะเวลาการทำงานล่วงเวลาเมื่อเวลาเลิกงานอยู่หลังเที่ยงคืน
  • ต้องการนับข้อมูลอย่างมีเงื่อนไข ทั้งเพียงเงื่อนไขเดียวหรือตั้งแต่ 2 เงื่อนไขไป ซึ่งปัจจุบันต้องเสียเวลาใช้คำสั่งกรองข้อมูลแล้วนับด้วยมือ
  • ต้องการคำนวณหาผลรวมอย่างมีเงื่อนไข ทั้งเพียงเงื่อนไขเดียวหรือตั้งแต่ 2 เงื่อนไขไป ต้องเสียเวลาใช้คำสั่งกรองข้อมูลแล้วมาบวกด้วยเครื่องคิดเลข
  • จัดเก็บข้อมูลดิบอยู่ต่างเวิร์คชีตแต่ต้องการนำมาใส่อยู่ที่เวิร์คชีตหนึ่งซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับอ้างอิงการทำแผนภูมิ และเมื่อต้องการเปลี่ยนข้อมูล ต้องเสียเวลาคัดลอกแล้ววาง
  • ต้องการแก้ไขรูปแบบการบันทึกข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานเช่น 02-###-####, 0##-###-### ให้อยู่ในรูป 0-####-#### หรือหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่บันทึกผิดรูปแบบเช่น 08#-###-#### ไปเป็น 08-####-#### เป็นต้น
  • พบข้อความ #VALUE!, #NUM! และอื่น ๆ แล้วไม่รู้ว่าจะแก้ไขข้อความไปเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร
  • ไม่สามารถใช้สูตร VLOOKUP กับตารางฐานข้อมูลที่ฟิลด์รหัสอยู่ข้างในเพื่อค้นหาข้อมูล
  • และอื่น ๆ

หากพบว่ากำลังประสบปัญหาดังกล่าว ขอเชิญคุณเข้ารับการอบรมหลักสูตรไขปัญหาการใช้สูตรเพื่อร่วมกับการจัดการฐานข้อมูลด้วยไมโครซอฟต์เอ็กเซล หลักสูตรนี้จะแนะนำคุณเลือกใช้สูตรที่เกี่ยวข้องกับงานฐานข้อมูลเพื่อดึงข้อมูลจากต่างเวิร์คชีตมาสร้างผล หาผลรวมอย่างมีเงื่อนไข นับจำนวนอย่างเงื่อนไข ลดระยะเวลาที่เคยปฏิบัติด้วยวิธีสามัญเปลี่ยนมาเป็นวิธีใหม่ ได้เวลาที่คืนกลับมาไปทำงานกับงานอื่น ๆ

สาขากรุงเทพฯ (ลาดพร้าว)
  • ยังไม่มีรอบเปิดอบรม (ลงชื่อจองไว้ได้)
  1. ใช้สูตรร่วมกับคุณลักษณะจัดรูปแบบอย่างมีเงื่อนไขเพื่อเน้นเฉพาะข้อมูลที่สนใจหรือเพื่อกลบเกลื่อนข้อผิดพลาด
  2. ใช้สูตร่วมกับคุณลักษณะกำหนดขอบเขตกับการกรอกข้อมูลเพื่อป้องกันการกรอกข้อมูลซ้ำหรือกรอกข้อมูลนอกเงื่อนไข
  3. ใช้สูตรวันและเวลาเพื่อคำนวณหาอายุ คำนวณหาค่าแรงล่วงเวลาหรือแก้ไขรูปแบบวันเดือนปีที่ผิดรูปแบบ
  4. ใช้สูตรนับข้อมูลอย่างมีเงื่อนไขตั้งแต่เงื่อนไขเดียวขึ้นไป
  5. ใช้คำนวณหาผลรวมของข้อมูลอย่างมีเงื่อนไขตั้งแต่เงื่อนไขเดียวขึ้นไป
  6. ใช้สูตรหาค่าเฉลี่ยอย่างมีเงื่อนไขตั้งแต่เงื่อนไขเดียวขึ้นไป
  7. ใช้สูตรเรียงลำดับข้อมูลแทนการใช้คำสั่งเรียงลำดับได้
  8. ใช้สูตรที่เกี่ยวกับข้อความเพื่อสืบค้นตำแหน่งข้อความนำไปสู่การแทนที่หรือตัดต่อข้อความ
  9. ใช้สูตรเปลี่ยนตำแหน่งข้อมูลที่ต้องการสืบค้นหรือตำแหน่งผลลัพธ์ที่ต้องการนำมาแสดง
  10. ใช้สูตรจัดการกับข้อความแจ้งข้อผิดพลาด
  11. ใช้สูตรอาร์เรย์เพื่อแก้ปัญหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักได้ หรือ หาผลรวมกลุ่มเซลล์ที่มีข้อผิดพลาดได้
  • เจ้าหน้าที่คลังสินค้า
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี
  • เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล
  • เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • นักศึกษาที่เตรียมฝึกงาน
  • มีพื้นฐานการใช้งาน Windows เบื้องต้น
  • มีทักษะการใช้ Microsoft Excel เป็นระยะเวลานานพอสมควร
  • 18 ชั่วโมง
  • ราคาปกติ 9,000 บาท / คน
  • โปรโมชั่นลด 10% เหลือ 8,100 บาท / คน
  • ราคาเหมาจ่าย (ผู้อบรมตั้งแต่ 10 คน) ตามแต่ตกลงกัน
  • ขอใบเสนอราคา
  1. การเขียนสูตร IF ทั้งแบบง่ายและซับซ้อนซึ่งง่ายต่อการแกะสูตร
  2. การใช้สูตร AND OR ร่วมกับสูตร IF
  3. วิธีลัดของเขียนเงื่อนไขโดยไม่ต้องใช้สูตร IF
  4. ปัญหาของ Error ต่าง ๆ ในสูตรที่จะต้องพบ เช่น #VALUE!, #NAME?, #DIV/0!, #REF และวิธีการแก้ไข
  5. การตรวจสอบว่าเซลล์ที่แสดงเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร
  6. การรวมเลขวันเลขเดือนเลขปีที่กระจายอยู่ต่างช่องให้เป็นวันเดือนปีเพื่อนำไปใช้คำนวณต่อ
  7. การคำนวณหาวันเดือนปีที่ต้องส่งสินค้าหรือวันเดือนปีที่หมดรับประกัน
  8. การแก้ไขวันเดือนปีที่กรอกโดยใช้ปีพุทธศักราชไปปีวันเดือนปีที่ใช้ปีคริสตศักราชเพื่อนำไปคำนวณหาอายุการทำงานหรืออายุตัว
  9. การคำนวณหาระยะเวลาทำงานล่วงเวลาถึงแม้ว่าเวลาเลิกงานอยู่หลังเวลา 00:00 น. ของวันใหม่
  10. การคำนวณหาค่าจ้างล่วงเวลา
  11. การใช้คุณลักษณะจัดรูปแบบให้กับเซลล์อย่างมีเงื่อนไขร่วมกับฟังก์ชันคำนวณวันเดือนปีหรือเวลา เพื่อระบุว่าเกินกำหนดคืนหนังสือ หรือแจ้งว่าพนักงานคนนี้ทำงานไม่ครบตามชั่วโมง
  12. การนับจำนวนระเบียนทั้งหมดฐานข้อมูล
  13. การนับข้อมูลอย่างมีเงื่อนไขเพียงเงื่อนไขเดียว
  14. การสร้างเลขลำดับนับข้อมูลเฉพาะกลุ่ม หากขึ้นข้อมูลในกลุ่มใหม่ เลขลำดับต้องขึ้นเลข 1 ทุกครั้ง
  15. การบังคับไม่ให้กรอกข้อมูลรหัสซ้ำกับรหัสที่มีอยู่แล้ว
  16. การคำนวณหาผลรวมอย่างมีเงื่อนไขเพียงเงื่อนไขเดียว
  17. การระบุลำดับที่ของข้อมูลประเภทตัวเลข
  18. การสร้างเลขลำดับอัตโนมัติด้วยสูตรโดยมีข้อแม้ว่าหากลบบรรทัดแล้วเลขลำดับยังคงเรียงลำดับเหมือนเดิม
  19. การดึงข้อมูลข้ามเวิร์คชีตโดยมีเซลล์หนึ่งในเวิร์คชีตที่เป็นรายงานทำหน้าที่รับชื่อเวิร์คชีต หากเปลี่ยนชื่อเวิร์คชีตแล้วเฉพาะข้อมูลที่อยู่ในเวิร์คชีตดังกล่าวถูกนำมาแสดงเท่านั้น เช่น มีเวิร์คชีตชื่อ Report และมียอดขายแยกจัดเก็บตามไตรมาส หากกำหนดที่เซลล์ E2 ด้วย Qtr2 ข้อมูลเฉพาะไตรมาสที่ 2 ต้องมาแสดงบนเวิร์คชีต Report เท่านั้น
  20. การแก้ไขปัญหาตำแหน่งอ้างอิงของชื่อกลุ่มเซลล์ไม่สัมพันธ์กับขนาดฐานข้อมูลซึ่งมีจำนวนระเบียนเพิ่มขึ้นหรือลดลงตลอดเวลา
  21. การแก้ไขข้อจำกัดของสูตร VLOOKUP ที่ไม่สามารถค้นหาข้อมูลด้วยเงื่อนไขค่าที่ต้องการที่มีตำแหน่งอยู่ข้างในตารางไปหาข้อมูลที่ต้องการซึ่งอยู่ข้างนอกตาราง เช่น อยากทราบว่าโรงงานที่มีพื้นที่มากที่สุดคือโรงงานชื่ออะไร
  22. การค้นหาข้อมูลด้วยเงื่อนไขตั้งแต่ 2 เงื่อนไข เช่น ลูกค้า บจม. การบินไทย สังกัดกระทรวงคมนาคม ว่ามีรหัสลูกค้าอะไร เป็นต้น
  23. การสร้าง Relational Droplist เช่น หากมีการสร้าง Droplist 2 ตัว เพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกค่า ซึ่ง Droplist ตัวแรกแสดงชื่อจังหวัดให้เลือก และ Droplist ตัวที่ 2 เป็นชื่ออำเภอ การสร้าง Relational Droplist นั้น หากเลือกชื่อจังหวัดนนทบุรี แล้ว Droplist ตัวที่ 2 จะต้องปรากฏเฉพาะชื่ออำเภอในจังหวัดนนทบุรีเท่านั้น
  24. การดึงตัวอักษรด้านซ้าย กลาง ขวา ออกมาเป็นอีกคอลัมน์
  25. การเชื่อมข้อมูลเข้าด้วยกัน เช่น ใช้ฟังก์ชัน Bahttext อ่านตัวเลขไปเป็นข้อความแล้วต้องมีเครื่องหมาย () ปิดหัวท้ายข้อความ
  26. การแทนที่ข้อความที่ต้องการด้วยข้อความใหม่
  27. การแก้ไขหมายเลขโทรศัพท์ที่กรอกผิดรูปแบบให้อยู่ในรูปแบบที่ทางราชการกำหนด
  28. การใช้ฟังก์ชันกลุ่มข้อความแก้ไขปัญหาป้อนรหัส 0001 ลงเซลล์แล้วพบว่าเป็นเลข 1 หลังกดแป้น Enter
  29. ทำความรู้จักประเภทของอาร์เรย์และการประยุกต์ใช้กับสูตร
  30. เทคนิคการแกะค่าของเซลล์ที่เป็นสูตรแบบอาร์เรย์ซึ่งยากแก่การทำความเข้าใจ
  31. การสร้างสูตรคำนวณหาผลรวมแบบบรรทัดเว้นบรรทัดหรือช่วงที่ต้องการ เช่น =A1+A3+A5+A7+… หรือ =A10+A20+A30+A40+… ซึ่งติดข้อจำกัดที่อาจจะไม่สามารถพิมพ์ได้จนจบตามต้องการ โดยส่วนมากแล้วผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะพักค่าไว้ก่อนแล้วบวกต่ออีกทีหนึ่ง แต่หากคุณเข้าใจวิธีการใช้งานอาร์เรย์แล้วปัญหานี้จะเขียนสั้น ๆ เพียงสูตรเดียวเท่านั้น
  32. การคำนวณหาผลรวมที่บางเซลล์ในกลุ่มเซลล์ที่ต้องการคำนวณหาผลรวมมีข้อความแจ้งข้อผิดพลาด ซึ่งปกติสูตร SUM ไม่สามารถคำนวณหาได้ โดยเฉพาะการหารที่มีตัวหารเป็น 0 คุณจะได้เรียนรู้วิธีการเขียนสูตรแบบข้ามเซลล์ที่ Error ไป โดยไม่จำเป็นต้องเขียน IF เช็คทุกค่าที่จะ SUM
  33. การแก้ปัญหาของการเขียนสูตร SUMIF หรือ COUNTIF ที่ไม่สามารถสร้างหลายเงื่อนไขได้ ด้วยการใช้สูตรอาร์เรย์
  34. การคำนวณหาค่าเฉลี่ยอย่างมีเงื่อนไข ซึ่งสูตร AVERAGEIF หรือ AVERAGEIFS ไม่สามารถคำนวณหาได้ เช่นการคำนวณหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
  35. การหาค่าสูงสุดอย่างมีเงื่อนไขหรือค่าต่ำสุดอย่างมีเงื่อนไขซึ่งสูตร MAX และสูตร MIN ไม่สามารถคำนวณหาได้
  36. ทำความรู้จักมหสูตร
  37. ข้อเปรียบเทียบระหว่างสูตรตัวกลาง (Intermediate Formula) กับ มหสูตร (Mega Formula) ทั้งด้านประสิทธิภาพการคำนวณและความยากง่ายของการศึกษา
  38. ฝึกการสร้างมหสูตร
  39. การประยุกต์ใช้มหสูตรกับงานฐานข้อมูล เช่น การคัดกรองข้อมูลอย่างมืเงื่อนไขทดแทนการใช้คำสั่ง Data Advanced Filter เป็นต้

 

09/02/2020 19:21:34