คืนเงินสมทบส่วนต่าง สปส. สูงสุด 900 บาท ใครได้บ้าง
เริ่มแล้ว พ.ค.นี้เป็นต้นไป สปส.ทยอยคืนเงินส่วนต่างสูงสุด 900 บาท ให้แก่ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วาตภัยและอุทกภัยในพื้นที่ 55 จังหวัด โดยเป็นการคืนเงินสมทบที่จ่ายเกิน ช่วง ตุลาคม 2567 - มีนาคม 2568
เมื่อวานนี้ (26 พฤษภาคม 2568) ตามมาตรการช่วยเหลือของกระทรวงแรงงานและสำนักงานประกันสังคม เพื่อบรรเทาผลกระทบแก่ผู้ประกอบการและผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วาตภัยและอุทกภัยในพื้นที่ 55 จังหวัด เป็นระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างเดือน ตุลาคม 2567 ถึง มีนาคม 2568
มาตรการดังกล่าวได้ปรับลดอัตราเงินสมทบประกันสังคมลง โดยผู้ประกันตน มาตรา 33 และนายจ้าง ลดจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 3 จ่ายฝ่ายละ 450 บาท และผู้ประกันตน มาตรา 39 ลดจาก 432 บาท เหลือ 283 บาท ทั้งนี้ เฉพาะพื้นที่ 55 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งได้แก่
- กระบี่
- กาญจนบุรี
- กาฬสินธุ์
- กำแพงเพชร
- ขอนแก่น
- ฉะเชิงเทรา
- ชลบุรี
- ชัยนาท
- ชัยภูมิ
- ชุมพร
- เชียงราย
- เชียงใหม่
- ตรัง
- ตาก
- นครนายก
- นครปฐม
- นครพนม
- นครราชสีมา
- นครศรีธรรมราช
- นครสวรรค์
- น่าน
- บึงกาฬ
- ปราจีนบุรี
- พระนครศรีอยุธยา
- พะเยา
- พังงา
- พิจิตร
- พิษณุโลก
- เพชรบูรณ์
- แพร่
- ภูเก็ต
- มหาสารคาม
- มุกดาหาร
- แม่ฮ่องสอน
- ยโสธร
- ยะลา
- ร้อยเอ็ด
- ระยอง
- ลำปาง
- ลำพูน
- เลย
- สงขลา
- สตูล
- สมุทรสาคร
- สระบุรี
- สิงห์บุรี
- สุโขทัย
- สุราษฎร์ธานี
- สุรินทร์
- หนองคาย
- หนองบัวลำภู
- อ่างทอง
- อุดรธานี
- อุตรดิตถ์
- อุทัยธานี
ล่าสุด สำนักงานประกันสังคมได้เริ่มทยอยโอนเงินส่วนต่างที่ผู้ประกันตนได้จ่ายเกินไปคืนให้แล้ว โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป การโอนเงินคืนนี้จะดำเนินการเฉพาะในพื้นที่ 55 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนเอง เนื่องจากนายจ้างจะเป็นผู้ดำเนินการยื่นเรื่องเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สถานประกอบการจะต้องตั้งอยู่ใน 1 ใน 55 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัยหรืออุทกภัยตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมกำหนด
ระยะเวลาที่ผู้ประกันตนจะได้รับเงินคืนขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่นายจ้างทำการยื่นเรื่อง ผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่ได้จ่ายเงินสมทบเกินในช่วงเวลาดังกล่าว จะได้รับเงินคืนสูงสุดไม่เกิน 900 บาท/คน จำนวนเงินที่ได้รับคืนจริงจะขึ้นอยู่กับฐานเงินเดือนของผู้ประกันตน และยอดเงินที่ได้จ่ายเกินไปจริงในช่วงเวลานั้น
ออกจาก สปส. ก่อนภัยพิบัติ มีสิทธิ์ได้เงิน 900 บาทหรือไม่
สำหรับผู้ประกันตนที่ลาออกจากงานแล้ว สิทธิประกันสังคมคุ้มครองต่อเป็นเวลา 6 เดือนเฉพาะ 4 กรณี นับตั้งแต่วันที่นายจ้างแจ้งออก ได้แก่
- กรณีเจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- ทุพพลภาพ
- เสียชีวิต
ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม โดยทั่วไปแล้ว หากไม่ได้เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือ มาตรา 39 ณ วันที่เกิดภัยพิบัติ จะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาหรือความช่วยเหลือจากกองทุนประกันสังคม ในกรณีภัยพิบัติ สิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมจะสงวนไว้สำหรับผู้ที่มีสถานะเป็นผู้ประกันตนเท่านั้น
หากลาออกจาก มาตรา 33, มาตรา 39 และไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ณ วันที่เกิดภัยพิบัติ จะไม่ได้รับเงินคืนหรือเงินช่วยเหลือจาก สปส.ในฐานะผู้ประกันตน
ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิ์ประกันสังคม ติดต่อสายด่วน 1506 ของสำนักงานประกันสังคมได้โดยตรง เพื่อสอบถามข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
ที่มา: thaipbs.or.th/news/content/352513
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Basic HTML5 and CSS3 (คอร์ส html 5 และ css 3 พื้นฐาน)
ในการเรียน html5 และ css3 นับเป็นเทคโนโลยีการพัฒนาเว็...
คำค้นหา : มาตรา 39 คือมาตรา 33 คือคืนเงินสมทบประกันสังคมประกันสังคมคืนเงิน 900สปส.ผู้ประกันตนเงินส่วนต่างประกันสังคมฐานเงินเดือนสิทธิประกันสังคมนายจ้างประกันสังคม