เมื่อคณะกรรมการตัดสินความงามเป็นหุ่นยนต์

เมื่อคณะกรรมการตัดสินความงามเป็นหุ่นยนต์

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

เมื่อหุ่นยนต์สามารถตัดสินความงามของมนุษย์
การประกวดความงามครั้งนี้มีคณะกรรมการตัดสินความงามเป็นหุ่นยนต์ทั้งหมดทุกคน (ทุกตน) โดยมีกติกาการเข้าร่วมให้ใครที่อยากจะเข้าร่วมประกวดทำการถ่ายภาพของตัวเอง

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือที่หลายคนเรียกย่อ ๆ ว่า เอไอ (AI) เป็นอีกสาขาหนึ่งในวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในยุคปัจจุบัน สำหรับใครที่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำนี้ ผมขออธิบายให้ฟังอย่างสั้น ๆ และให้เข้าใจง่ายครับ ว่าปัญญาประดิษฐ์ก็คือการสร้างความฉลาดเทียมให้กับหุ่นยนต์ สิ่งที่ไม่มีชีวิต หรืออาจจะเป็นระบบใดระบบหนึ่ง ที่ทำให้มันสามารถคิดหรือประมวลผลได้คล้ายหรือเท่ากับสมองของมนุษย์ เรียกว่าทำให้หุ่นยนต์ตัวนั้น ๆ สามารถคิดและกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล สามารถคิดและกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้เหมือนกับมนุษย์นั่นแหละครับ 

ซึ่งในปัจจุบันมีการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้หลากหลายมากกว่าแต่ก่อนค่อนข้างมาก วันนี้ผมจะชวนคุณผู้อ่านประจำคอลัมน์วันพุธมารู้จักการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้กับการประกวดความงาม ใช่ครับการประกวดความสวยความงามนี่แหละครับ โดยการประกวดนี้ใช้ชื่อว่า Beauty.AI ที่เพิ่งจะมีการจัดขึ้นมาเมื่อเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2016 นี้เอง ซึ่งการประกวดความงามครั้งนี้ถือว่าเป็นการประกวดที่นำปัญญาประดิษฐ์ของหุ่นยนต์มาตัดสินความงามของมนุษย์เป็นครั้งแรกของโลกก็ว่าได้ครับ (The World’s First International Beauty Contest Judged by an Artificial Intelligence Jury) โดยได้รับการสนับสนุนการประกวดจากบริษัทเทคโนโลยีไอทีชื่อดังต่าง ๆ หลายแห่ง เช่นทั้งบริษัทไมโครซอฟท์ และ บริษัทเอ็นวีเดีย (Nvidia Corporation) 

การประกวดความงามครั้งนี้มีคณะกรรมการตัดสินความงามเป็นหุ่นยนต์ทั้งหมดทุกคน (ทุกตน) โดยมีกติกาการเข้าร่วมให้ใครที่อยากจะเข้าร่วมประกวดทำการถ่ายภาพของตัวเอง หรือ “เซลฟี่” โดยอาศัยแอพพลิเคชั่นเฉพาะบนมือถือที่ให้ดาวน์โหลดทั้งบนแอนดรอยด์และไอโอเอส แล้วส่งเข้าสู่เว็บไซต์ของกองจัดประกวด Beauty.AI โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งเรื่องอายุ สีผิว หรือแม้แต่เพศ นั่นหมายความว่าการแข่งขันความงามของใบหน้านี้มีทั้งของผู้ชายและผู้หญิง (หรืออาจรวมถึงผู้ชายที่แต่งเป็นหญิงก็สามารถเข้าประกวดได้เช่นกันครับ) แต่ก็มีข้อแม้เล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่นภาพใบหน้านั้นจะต้องไม่มีการแต่งหน้าเมคอัพ ต้องไม่มีหนวดเครา และต้องไม่สวมแว่นตา 

หลังจากเมื่อผู้เข้าประกวดส่งรูปอัพโหลดเข้าสู่เว็บไซต์ของกองจัดประกวดแล้ว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาให้มีสมองเป็นเหมือนกับมนุษย์ผู้ตัดสิน จะทำการประเมินและเปรียบเทียบภาพของแต่ละคนที่อัพโหลดรูปขึ้นไป โดยอัลกอริทึม (Algorithm) การประมวลผลความงามของมนุษย์โดยดูจากองค์ประกอบและสัดส่วนต่าง ๆ ภายในใบหน้าของผู้สมัคร เช่น ความสมมาตรของใบหน้า ระยะห่างของอวัยวะองค์ประกอบต่าง ๆ บนใบหน้า จำนวนรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าผู้สมัคร หรือแม้แต่ความสวยงามของสีผิวของผู้สมัคร เป็นต้น และสุดท้ายระบบก็จะทำการจัดอันดับความงามของแต่ละบุคคลตามกลุ่มอายุ ตามเพศ และ ตามเชื้อชาติ ว่าใครผู้หญิงคนไหนสวยที่สุดหรือผู้ชายคนไหนหน้าตาดีที่สุดก็จะได้รับรางวัลชนะเลิศ 

เห็นไหมครับว่าแม้โลกเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันของเรามีคนนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ แปลก ๆ และน่าสนใจออกมาให้เราเรียนรู้ได้อย่างไม่จบสิ้นเลยนะครับ มองมุมหนึ่งอาจจะดูว่าโลกของเราอาจจะหมุนเร็วจนเกินไปหรือเปล่าจนยากที่หลายคนจะตามทัน แต่ถ้ามองในแง่ดีและสนุกไปกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ผมเชื่อว่านี่ก็ถือว่านี่เป็นอีกเสน่ห์แห่งความงามหนึ่งที่น่าสนใจของโลกยุคต้นของศตวรรษที่ 21 ที่ยิ่งหมุนเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีอะไรให้น่าค้นหา น่าสนุกสนาน และ น่าสร้างสรรค์นวัตกรรมชิ้นใหม่ ๆ ออกมามากขึ้นเท่านั้น.

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 4,135 ครั้ง

คำค้นหา : คณะกรรมการตัดสินความงามหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์เอไอ (AI) วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ Beauty.AIบริษัทไมโครซอฟท์ บริษัทเอ็นวีเดีย แอนดรอยด์ไอโอเอสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ความสมมาตรของใบหน้า ศตวรรษที่ 21