ใช้โซเชียลมีเดียในช่วงวิกฤติต้องมีสติ ตั้งคำถามก่อนเชื่อ

ใช้โซเชียลมีเดียในช่วงวิกฤติต้องมีสติ ตั้งคำถามก่อนเชื่อ

หมวดหมู่: บทความทั่วไปTip & Technicข่าวไอที

ใช้โซเชียลมีเดียในช่วงวิกฤติ ต้องมีสติ! 
ใช้โซเชียลมีเดียในช่วงวิกฤติ ต้องมีสติ! เทคนิคในการกรองข้อมูลข่าวสารของผู้รับสารในช่วงวิกฤติ อย่างเดียว คือ การมีสติ ตั้งคำถามก่อนเชื่อ

หลังเกิดเหตุระเบิดบริเวณสี่แยกราชประสงค์เมื่อเวลา 18.50 น. วันที่ 17 ส.ค.58ไม่นานนักข้อความที่อ้างว่ามาจากทวิตเตอร์ของสื่อสำนักหนึ่งซึ่งระบุว่า คสช.ประกาศหยุดราชการ ก็แพร่กระจายและถูกส่งต่อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย ทั้งทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และไลน์ อย่างรวดเร็ว

แม้แต่รูปภาพของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตก็ถูกส่งต่อผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็วเช่นกัน กระทั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องออกมาแถลงว่า ข้อความที่ส่งต่อกันในโซเชียลมีเดียไม่เป็นความจริง พร้อมทั้งใช้ทวิตเตอร์บัญชีชื่อ @armypr_news ทวีตข้อความว่า “คสช.ยืนยันไม่มีประกาศให้สถานศึกษาและสถานที่ราชการใน กทม. ปิดทำการ 1 วัน ตามที่มีผู้ปล่อยข่าวทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค” เรามาถึงจุดที่โซเชียลมีเดียกลายเป็นเครื่องมือปล่อยข่าวลือได้อย่างไร และจะมีวิธีคัดกรองข้อมูลก่อนส่งต่อได้อย่างไร

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จุดแข็งของโซเชียลมีเดียในสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นคือทำให้สื่อสารในเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่จุดอ่อนในความรวดเร็วก็อาจทำให้เผยแพร่ข้อมูลผิดพลาดได้ง่าย ซึ่งในช่วงที่เกิดวิกฤติผู้ที่รับข่าวสารอาจไม่ค่อยตรวจสอบ ดังนั้น การที่รับข้อมูลในช่วงวิกฤติ ผู้รับข่าวสาร ต้องมีสติ ตั้งคำถาม อย่าเชื่อในสิ่งที่ได้อ่านได้เห็นทันที “เทคนิคในการกรองข้อมูลข่าวสารของผู้รับสารในช่วงวิกฤติ อย่างเดียว คือ การมีสติ ตั้งคำถามก่อนเชื่อ ซึ่งประชาชนทั่วไปอาจเข้าไม่ถึงแหล่งข้อมูล ดังนั้นสื่อต้องตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนเผยแพร่”

ดร.มานะ กล่าว ดร.มานะ กล่าวต่อว่า วันนี้เราต้องเรียนรู้การใช้งานโซเชียลมีเดียซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านบวกคือเมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลออกมาในโลกออนไลน์ก็จะมีคนกลุ่มหนึ่งตรวจสอบ เมื่อพบว่าข้อมูลไม่เป็นความจริงก็จะบอกต่อๆ กันทันที เช่นเดียวกับการขอความร่วมมือไม่ให้เผยแพร่ภาพผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บเพื่อเป็นการให้เกียรติกัน เมื่อมีการบอกต่อๆ กัน ทำให้มีการส่งต่อภาพดังกล่าวน้อยลงทันที ขณะที่ด้านลบก็อย่าไปสนับสนุนเมื่อมีการเผยแพร่สิ่งที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นข้อความเท็จ

วันนี้คนใช้งานโซเชียลมีเดียไทยพัฒนามากขึ้นและเริ่มตระหนักถึงการใช้งาน มีการเตือนกันเองเมื่อเห็นว่าใช้โซเชียลมีเดียในทางไม่เหมาะสม เช่นแพร่ภาพผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ เรายังต้องเรียนรู้ประสบการณ์การใช้งานโซเชียลมีเดียไปพร้อมๆ กัน เพราะวันนี้โซเชียลมีเดียยังเป็นสื่อที่ให้ข้อมูลรวดเร็วที่สุดมีทั้งข้อความและภาพ” ดร.มานะ กล่าว

นายณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า กรณีผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จในโซเชียลมีเดียจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนคนที่ส่งต่อข้อมูลจะดูเจตนา ถ้าส่งต่อข้อมูลเพราะตื่นตระหนกก็จะต้องให้ข้อมูลเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ เช่น รับข้อมูลจากแหล่งใด

ตอนนี้ให้ระวังการรับข้อมูลข่าวสารปลอมจากผู้ไม่ประสงค์ดีที่สร้างสถานการณ์ต่อเนื่องจากข่าวลือต่างๆโดยให้รอฟังผลรายงานจากหน่วยงานรัฐอย่างเป็นทางการ ถ้าจะส่งต่อหรือแชร์ให้ทำหลังจากที่หน่วยงานรัฐได้ออกมายืนยันแล้ว” นายณัฐ กล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้โซเชียลมีเดียจะถูกนำมาใช้ผิดวัตถุประสงค์จากผู้ไม่ประสงค์ดี แต่หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนก็ได้หยิบโซเชียลมีเดียมาใช้งานในทางที่ดี เช่น ใช้โพสต์ข้อความผ่านบัญชีรายชื่อของหน่วยงานเพื่อแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่ไลน์ ประเทศไทย ก็ได้ใช้ช่องทางของไลน์ในการโพสต์ข้อความไม่ให้ผู้ใช้เผยแพร่ข้อความเพื่อสนับสนุนข้อความอันเป็นเท็จ โดยการไม่ส่งต่อ แชร์ ข้อความ และรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือไม่มีแหล่งอ้างอิง

ที่มา:

 

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 2,717 ครั้ง

คำค้นหา : เทคนิคในการกรองข้อมูลข่าวสารของผู้รับสารในช่วงวิกฤติ การมีสติ ตั้งคำถามก่อนเชื่อ แม้แต่รูปภาพของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตก็ถูกส่งต่อผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ข้อความที่ส่งต่อกันในโซเชียลมีเดียไม่เป็นความจริงคสช.ยืนยันไม่มีประกาศให้สถานศึกษาและสถานที่ราชการใน กทม. ปิดทำการ เรามาถึงจุดที่โซเชียลมีเดียกลายเป็นเครื่องมือปล่อยข่าวลือได้อย่างไร ผู้รับข่าวสาร ต้องมีสติ ตั้งคำถาม อย่าเชื่อในสิ่งที่ได้อ่านได้เห็นทันที วันนี้เราต้องเรียนรู้การใช้งานโซเชียลมีเดียซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ