Internet of Things คืออะไร

Internet of Things คืออะไร

หมวดหมู่: บทความทั่วไปAndroidiOSSoftware ReviewHardware Reviewข่าวไอที

เมื่อใคร ๆ ก็พูดถึงแต่เรื่อง IoT(Internet of Things) วันนี้จะพาไปหาคำตอบจากผู้ผลิตชิพรายใหญ่ของโลกว่า จริง ๆ แล้ว ประเทศไทยพร้อมเข้าสู่การใช้งาน IoT แล้วหรือยัง?

นายสนธิญา หนูจีนเส้ง กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การทำ IoT หรืออินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ มีหลายส่วนประกอบกันเช่น ชิพ เน็ตเวิร์ก เกตเวย์ซอฟต์แวร์ ระบบความปลอดภัย และที่สำคัญต้องมีความร่วมมือที่ดีจากทั้งภาครัฐและเอกชนในการสร้างสรรค์พัฒนาและผลักดันให้เกิดการใช้งานหรือที่เรียกว่า อีโคซีสเต็ม (Ecosystem)

ไทยพร้อมแล้วที่จะก้าวสู่การใช้งานแบบ IoT ซึ่งเป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมี 3 ปัจจัยที่เหมาะสมคือช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าแบนด์วิธหรือความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ตมีราคาถูกลง 40% ต้นทุนการทำเซ็นเซอร์ลดลง 2 เท่าและต้นทุนในการประมวลผลถูกลง 60 เท่า ซึ่งวันนี้ไทยมีเทคโนโลยีครบจึงพร้อมก้าวสู่การใช้งาน IoT

นายสนธิญากล่าว นายสนธิญา กล่าวต่อว่า ไทยมีความพร้อมในการก้าวสู่การใช้งาน IoT อยู่ในระดับแถวหน้าของอาเซียน โดยขณะนี้อินเทลร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ นำเทคโนโลยี IoT มาใช้งานแล้วเบื้องต้นมี 2 ตัวอย่างได้แก่ การให้บริการรถแท็กซี่ภายใต้ชื่อออลไทยแท็กซี่ (All Thai Taxi) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของนครชัยแอร์โดยบริการแท็กซี่ดังกล่าวอินเทลร่วมกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์นำชิพของอินเทลไปติดตั้งในอุปกรณ์เพื่อเก็บข้อมูลคนขับเช่น ปริมาณการเผาผลาญน้ำมันระหว่างขับและลักษณะการขับรถของคนขับ โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปยังระบบฐานข้อมูลส่วนกลางของนครชัยแอร์เพื่อทำการประเมินผลการขับของคนขับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและสามารถรู้สภาพรถยนต์เพื่อตรวจสอบได้

บริการออลไทยแท็กซี่เปิดตัวเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนขับแท็กซี่ไม่สามารถปฏิเสธผู้โดยสารได้ซึ่งทำให้การให้บริการของแท็กซี่อื่น ๆ ต้องปรับตัว ซึ่งเป็นโครงการที่วางจุดคุ้มทุนไว้นานและการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาใช้ทำให้สามารถนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนการให้บริการที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย”นายสนธิญากล่าว ส่วนอีกหนึ่งโครงการที่อินเทลนำ IoT เข้าไปร่วมดำเนินการคือ โครงการสมาร์ทซิตี้ของเทศบาลเมืองแสนสุข ตำบลแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี ซึ่งหน่วยงานราชการมีแนวคิดทำให้เป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ โดยเริ่มจากเรื่องของการดูแลสุขภาพหรือเฮลท์แคร์เพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระหว่างอยู่ที่บ้าน ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลกับทางโรงพยาบาลโครงการนี้อินเทลเข้าไปร่วมในการเชื่อมโยงการทำงานของทุกส่วนทั้งภาคราชการ การศึกษาและไอที รวมถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมในการใช้งาน IoT ซึ่งโครงการนี้หารือตั้งแต่ ต.ค. 2557 คาดจะเริ่มเชื่อมต่อระบบ IoT ในไตรมาส 3 และเปิดใช้งานจริงไตรมาส 4 ปีนี้ 

การทำเรื่อง IoT ในตำบลแสนสุขเกิดขึ้นได้มีภาครัฐเป็นกุญแจสำคัญเพราะมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ไฟฟ้า กรมเจ้าท่า กรมที่ดิน ซึ่งการดำเนินงานมีกฎระเบียบจากหลายส่วนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อผลักดันการทำงานในตำบลแสนสุขมีประชาชนราว 2 หมื่นครัวเรือนและมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาชายหาดบางแสนปีละ 1.7 ล้านคน

ดังนั้นตำบลแสนสุขถือเป็นสมาร์ทซิตี้ต้นแบบของประเทศ ไทยเนื่องจากเรื่องสมาร์ทซิตี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอล” นายสนธิญา กล่าว ส่วนประเทศในแถบอาเซียนที่นำ IoT เข้าไปใช้งานบ้างแล้วได้แก่ ประเทศอินโดนีเซียมีการใช้ IoT ในการทำบริการแท็กซี่เช่นเดียวกับในไทย ขณะที่ประเทศมาเลเซียอินเทลร่วมกับหน่วยงานเกษตรทดสอบการทำสมาร์ทฟาร์เมอร์(Farmer) หรือการบริหารจัดการด้านการเกษตรอัจฉริยะโดยติดตั้งเซ็นเซอร์ที่ประตูเปิด-ปิดน้ำอัตโนมัติและการใส่ปุ๋ยในแปลงข้าวโดยให้ชาวนามอนิเตอร์ผ่านแท็บเล็ตว่าควรเปิด-ปิดประตูน้ำและใส่ปุ๋ยช่วงไหน ผลการทดลอง พบว่าเมื่อมีการบริหารจัดการแบบเป็นระบบทำให้ชาวนาในแปลงทดลองสามารถปลูกข้าวได้มากถึงปีละ 3 ครั้งจากแต่ก่อนปีละครั้ง

นายสนธิญา กล่าวว่า วันนี้เรื่องของ IoT อาจดูเป็นเรื่องใหม่ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปไม่ต้องเข้าใจว่า IoT คืออะไรแต่ต้องรู้ว่าอะไรที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเช่น ออกจากบ้านแล้วสามารถหาข้อมูลได้ว่าเส้นทางไหนรถไม่ติดหรือมีทางเลือกไหนบ้างจนกระทั่งมาถึงที่ทำงานก็รู้ได้ว่าเราใช้พลังงานไฟฟ้ามากเกินไปหรือเปล่า ซึ่งวันนี้คนที่ต้องเข้าใจเรื่อง IoT คือคนที่ต้องวางแผนวางระบบ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ก่อนนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นช่วงแรกของการสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนเรื่องของ IoT อินเทลได้ร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชนให้ความรู้เรื่อง IoT และประโยชน์การใช้งานโดยครึ่งปีหลังนี้อินเทลเตรียมขยายบุคลากรด้าน IoT ตั้งแต่บุคลากรที่ดูแลเรื่องการออกแบบสถาปัตยกรรม การออกแบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ รวมไปถึงพนักงานทางการตลาดที่จะช่วยดูแลเรื่องการใช้งาน IoT ว่าจะเข้าไปช่วยลดต้นทุนให้แก่บริษัทนั้น ๆ ได้

ในส่วนไหนบ้างเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่มองว่าจะมีการใช้งาน IoT เพื่อช่วยในการบริหารจัดการและลดต้นทุนคือ โรงงาน ห้างค้าปลีก สมาร์ทโฮม สมาร์ทซิตี้ และการคมนาคมขนส่ง ต่อคำถามที่ว่าการใช้งาน IoT จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้อย่างไรบ้าง นายสนธิญา กล่าวว่า IoT เป็นฟันเฟืองหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่น ใช้ข้อมูลที่ได้จากส่วนต่าง ๆ มาวิเคราะห์สินค้าวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าเพื่อปรับ ปรุงสินค้าและวางแผนการตลาดเพื่อทำการตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งวันนี้ จีดีพีหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 45% มาจากบริการและท่องเที่ยว 42% มาจากการส่งออกและ 12-13% มาจากสินค้าเกษตรกรรมหากนำ IoT มาช่วยเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อบริหารจัดการลดต้นทุนให้ต่ำลงจะทำให้มีบริการที่ตรงกับความต้องการมีสินค้าที่ตรงกับความต้องการในขณะที่ต้นทุนถูกลงแต่รายได้เพิ่มขึ้น เรื่องของ IoT อาจต้องใช้เวลาเพื่อสร้างความเข้าใจสักนิดแต่ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวจนไม่อาจจะเข้าใจ.

บทความโดย: น้ำเพชร จันทา @phetchan“

 

 

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 4,333 ครั้ง

คำค้นหา : Internet of Things คืออะไร ประเทศไทย การก้าวเข้าสู IoTสนธิญา หนูจีนเส้งเทคโนโลยี IoT การเข้าสู่ IoT ความพร้อมของไทย