Facebook ยอมรับว่าบางครั้ง Social Media ก็ไม่ได้เป็นผลดีต่อระบอบประชาธิปไตย

Facebook ยอมรับว่าบางครั้ง Social Media ก็ไม่ได้เป็นผลดีต่อระบอบประชาธิปไตย

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

Facebook ยอมรับว่าบางครั้ง Social Media ก็ไม่ได้เป็นผลดีต่อระบอบประชาธิปไตย
ความพยายามของ Facebook ที่จะคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในปัจจุบันยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดย Facebook ออกมายอมรับว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวไม่ใช่เรื่องดีสำหรับประชาธิปไตยเสมอไป

เรื่องดังกล่าวถูกเขียนไว้ในบล็อกส่วน "คำถามยาก" โดยผู้บริหารของ Facebook และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกได้ประเมินผลของ Facebook ที่มีต่อการเลือกตั้ง การเมืองในระบบพรรค และข่าวลวง อย่างไรก็ตาม Facebook ยังมีการถ่วงดุลต่อการวิจารณ์ตนเอง เช่น เลือกที่จะพูดว่า "อันตรายที่อินเตอร์เน็ตสามารถทำให้เกิดขึ้นได้แม้ในระบอบประชาธิปไตยที่ทำงานเป็นอย่างดี" แทนที่จะพูดว่าเป็น "อันตรายที่เกิดจาก Facebook" โดยเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม นี่ถือเป็นการแสดงความรับผิดชอบที่มากขึ้น หากเปรียบเทียบกับความเห็นของ Mark Zuckerberg ซีอีโอของ Facebook ที่เคยระบุไว้ในปี 2016 ว่ามันเป็นเรื่องที่ "บ้า" หากจะกล่าวว่า Facebook มีส่วนชี้นำการเลือกตั้งของสหรัฐฯ

Katie Harbath ผู้อำนวยการด้านการแพร่ขยายทางการเมืองและการปกครองของ Facebook ระบุว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ Facebook เริ่มที่จะตระหนักถึงแรงกระเพื่อมต่อระบอบประชาธิปไตย ทั้งในทางที่ดีขึ้นและแย่ลง "จากปรากฏการณ์อาหรับสปริง สู่การเลือกตั้งที่เข้มแข็งทั่วโลก สื่อสังคมออนไลน์ดูเหมือนจะถูกมองในทางบวก" Harbath ระบุ "แต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งล่าสุดได้เปลี่ยนมุมมองดังกล่าวไป จากการรบกวนของชาวต่างชาติ ที่ทำให้ Facebook ควรตรวจจับการเพิ่มขึ้นของข่าวลวง รวมถึงผลสะท้อนให้มากขึ้น"

นอกจากนี้ในโพสต์บล็อกอีกอันหนึ่ง Samidh Chakrabarti ผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์เพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชนของ Facebook ได้ขยายความเรื่องนี้เพิ่ม โดยเขาได้ชี้ให้เห็นข้อดีของสื่อสังคมออนไลน์ต่อประชาธิปไตย อาทิ ช่วยให้ผู้คนได้รับข่าวสารทางการเมือง และเป็นพื้นที่สำหรับการดีเบต แต่เขาก็ยังเตือนว่า Facebook จะไม่มีทางกำจัดปัญหาข่าวปลอมและข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกไปได้ทั้งหมด แม้จะมีการตอบโต้ด้วยมาตรการต่างๆ ก็ตาม

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2016 เราเริ่มได้เห็นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรม ในเดือนมกราคมนี้ Facebook เริ่มจะรื้อและปรับปรุง News feed ใหม่ ลดเนื้อหาในเชิงข่าวเพื่อให้ความสำคัญกับกิจกรรมของเพื่อนมากขึ้น และเริ่มสำรวจความเห็นผู้ใช้งานว่าแหล่งข่าวใดที่พวกเขาเชื่อถือ

อาจมีข้อโต้แย้งว่าความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะซ้ำเติมปัญหาที่เคยมีอยู่เดิม เพราะเมื่อผู้ใช้งานได้รับข่าวน้อยลง พวกเขาก็จะยิ่งแชร์ข่าวที่มีความเร้าอารมณ์มากขึ้น และหากผู้ใช้งานมีหน้าที่ตัดสินว่าแหล่งข่าวใดน่าเชื่อถือ แล้วอะไรที่จะเป็นตัวหยุดพวกเขาจากการโหวตให้กับแหล่งข่าวที่สนับสนุนวิธีคิดของพวกเขาได้ นี่จึงเป็นการซ้ำเติมปัญหาที่ข้อมูล ความคิด ความเชื่อจะถูกขยายและสนับสนุนผ่านการสื่อสารและทำซ้ำๆ ในระบบ หรือที่เรียกกันในทางวิชาการกว่า "ห้องเสียงสะท้อน (Echo Chamber) ซึ่ง  Cass Sunstein ศาสตราจารย์ที่วิทยาลัยด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระบุว่าเป็น "ฝันร้าย" เลยทีเดียว

นอกจากนี้ ขณะที่เฟซบุ๊กกำลังพุ่งความสนใจไปที่ผลของการแทรกแซงของรัสเซียต่อการเลือกตั้งสหรัฐฯ เมื่อปี 2016 ในอีกด้านหนึ่งของโลก ก็มีรายงานจาก BuzzFeed ที่กล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา ใช้เฟซบุ๊กในการส่งสารสนับสนุนรัฐบาล และตรวจจับผู้วิจารณ์

Chakrabarti บอกว่าเขาปรารถนาให้เขาเองสามารถยืนยันได้ว่าสื่อสังคมออนไลน์จะมีผลดีมากกว่าผลเสียต่อระบอบประชาธิปไตย แต่เขาไม่สามารถยืนยันเช่นนั้นได้จริงๆ

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย เอ็นโอไอ ไอทีจีเนียส
เข้าชม 1,518 ครั้ง

คำค้นหา : Facebook Social Media ระบอบประชาธิปไตยการเลือกตั้ง การเมืองในระบบพรรค ข่าวลวง อินเตอร์เน็ตMark Zuckerbergซีอีโอของ FacebookKatie Harbathปัญหาข่าวปลอม News feed แชร์ข่าวห้องเสียงสะท้อนBuzzFeed Chakrabarti สื่อสังคมออนไลน์ระบอบประชาธิปไตย