การพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้เข้าถึงทุกหมู่บ้าน

การพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้เข้าถึงทุกหมู่บ้าน

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

ปี60 อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าถึงทุกหมู่บ้าน 
กระทรวงไอซีทีจะใช้งบประมาณที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2559 จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อนำมาจัดทำโครงการยกระดับโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ

เทคโนโลยีถือเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นตัวผลักดันการเติบโตของประเทศ ซึ่งรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยพยายามผลักดันให้ทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้มีโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมครอบคลุม 

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า กระทรวงไอซีทีจะใช้งบประมาณที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2559 จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อนำมาจัดทำโครงการยกระดับโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ 

โดยแบ่งงบออกมา 2 โครงการ คือ การพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้เข้าถึงทุกหมู่บ้าน 15,000 ล้านบาท และโครงการขยายขีดความสามารถเครือข่ายการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศและต่างประเทศ ด้วยงบประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยกระทรวงไอซีทีมอบหมายให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคม นาคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการร่วมกัน 

ทั้งนี้ ทั้งทีโอที และ กสท จะต้องสำรวจพื้นที่การวางโครงข่ายทั่วประเทศร่วมกัน โดยปัจจุบันพื้นที่ที่มีโครงข่ายแล้วกว่า 50% จะต้องอัพเกรดความเร็วในการดาวน์โหลดให้ได้ถึง 20 Mbps ส่วนอัพโหลด 5 Mbps จะต้องดูว่าจะเปลี่ยนจากสายทองแดงเป็นไฟเบอร์ออฟติกทั้งหมด หรือจะเปลี่ยนแค่อุปกรณ์หัว-ท้าย กระทรวงจะพิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนอีกครั้ง 

ส่วนพื้นที่อีกกว่า 40% หรือประมาณ 30,000 จุด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการลงทุนนั้น ถือเป็นพื้นที่ที่กระทรวงต้องดำเนินงาน และไม่ให้เกิดการลงทุนซ้ำซ้อนกับโครงการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่เน้นพื้นที่ชายขอบ และพื้นที่ทุรกันดารด้วย 

อีกทั้งยังมีโครงการที่กระทรวงเคยกำหนดไว้ในการขยายบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชนภายใต้งบประมาณ 3,700 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบที่เหลือจากโครงการติดตั้งไว-ไฟ สำหรับแท็บเล็ตโรงเรียนจำนวน 10,000 แห่งทั่วประเทศด้วย 

“เราไม่ได้จำกัดว่าต้องใช้เทคโนโลยีเดียว คือ ไฟเบอร์ออฟติก เพราะบางพื้นที่การลงทุนจะไม่คุ้มค่า ก็จะใช้เป็นไวร์เลส บรอดแบนด์ นำมาผสมผสานกัน และกระทรวงก็ไม่ได้ปิดกั้นเอกชน หากจะร่วมลงทุน เพราะโครงการนี้ไม่ใช่โครงการให้อินเทอร์เน็ตฟรีแก่ประชาชน แต่รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนโครงข่ายโดยเปิดโอกาสให้เอกชนวางโครงข่ายร่วมกันได้ ดังนั้น ค่าบริการต้องไม่แพง เป็นราคาระดับภูมิภาคที่ประชาชนสามารถจ่ายได้ 

นายอุตตม กล่าวว่า ในส่วนของโครงการที่ 2 เป็นโครงการที่ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกับสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สร้างให้ประเทศไทยมีเกตเวย์ราคาถูก สามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ สามารถดึงดูดให้คอนเทนต์ โพวายเดอร์ เช่น กูเกิล เฟซบุ๊ก ไลน์ มาลงทุนในประเทศไทย 

ทั้งนี้ ในอนาคตทั้ง 2 โครงการ จะต้องถูกนำมาต่อยอด และสามารถนำมาเป็นรูปแบบการลงทุนแบบอินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์ หรือกองทุนโครงสร้างพื้นฐานด้วย ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถสรุปพื้นที่ในการวางโครงข่ายได้ภายในเดือน ก.พ. 59 และดำเนินโครง การเสร็จภายในปี 2560 “

งบประมาณครั้งนี้ ถือว่าเป็นงบก้อนใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยได้มา กระทรวงไอซีทีจะจัดสรรงบประมาณด้วยความระมัดระวัง โปร่งใสและเป็นธรรม การเบิกจ่ายงบของทีโอที และ กสท จะเป็นไปตามต้นทุนที่เป็น จริง” 

นอกจากนี้ กระทรวงไอซีทียืนยันว่านโยบายและงบประมาณดังกล่าวจะไม่ได้นำไปสู่แนวคิดการจัดทำซิงเกิลเกตเวย์อย่างที่หลายฝ่ายกังวลแน่นอน 

มาช่วยกันลุ้นว่าภายในปี 2560 โครงสร้างโทรคมนาคมจะครอบคลุมทุกพื้นที่ทั้งประเทศได้หรือไม่.

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 4,254 ครั้ง

คำค้นหา : อินเทอร์เน็ตกระทรวงไอซีทีคณะรัฐมนตรีโทรคมนาคมของประเทศการเติบโตของประเทศ โครงข่ายโทรคมนาคมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเครือข่ายการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบริษัท ทีโอที จำกัดบริษัท กสท โทรคม นาคม จำกัด โครงการกองทุนวิจัยโครงการติดตั้งไว-ไฟ ไฟเบอร์ออฟติก ไวร์เลส บรอดแบนด์