ความช่วยเหลือจากโลกไซเบอร์ไปยังคนตาบอด

ความช่วยเหลือจากโลกไซเบอร์ไปยังคนตาบอด

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

เปิดไฟให้คนตาบอด 
ถ้าพูดถึงความช่วยเหลือจากโลกไซเบอร์ไปยังคนตาบอด (ผมหมายรวมถึงคนตาบอดและกลุ่มผู้พิการทางสายตาอื่น ๆ ด้วยนะครับ) มีแอพพลิเคชั่นจำนวนมากถูกสร้างขึ้นมาก่อนหน้านี้

ถ้าจะไล่เรียงกันก็อย่างเช่น กลุ่มอ่านหน้าจอ (Screen Reader)  หนังสือเสียง (อย่าง Chula Daisy) หรือกลุ่มที่กำลังเกิดใหม่ในปัจจุบัน คือ กลุ่มที่พยายามถ่ายทอดข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวให้คนตาบอดได้รับรู้ เช่น แอพ อย่าง Be My Eyes ที่ระดมคนในแบบคราวด์ซอร์สซิง (Crowdsourcing) ที่กลุ่มคนในโลกไซเบอร์ถ่ายทอดข้อมูลในภาพที่ส่งมาจากคนตาบอด เพื่ออธิบายคนตาบอดเหล่านั้นได้รู้ว่าภาพนั้นคืออะไร หรืออย่าง แอพพลิเคชั่นของทีมงานจากภาควิชาวิศว กรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Bright Sight ทำหน้าที่อ่านข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจากภาพถ่ายหรือภาพสแกนเอกสาร ให้คนตาบอดได้ฟัง หรือล่าสุดจากมหาวิทยาลัยแห่งลินคอล์น (University of Lincoln) ที่ นำอุปกรณ์พิเศษ ซึ่งสามารถวัดระยะ และ ถ่ายภาพ ในแบบเดียวกันกับโครงการแทงโก้ (Tango) ของกูเกิลที่มีเซ็นเซอร์วัดระยะใช้งานร่วมกับกล้องถ่ายภาพ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงจุดต่าง ๆ ในภาพที่ได้กับระยะทางจากจุดนั้นมายังกล้อง 

ระบบในกลุ่มหลังนี้ คือ ความพยายามในการอธิบาย หรือบอกเล่าข้อมูลของสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้กับคนตาบอดได้รับรู้ แต่จริง ๆ แล้วยังมีความพยายามอีกหลายช่องทางสำหรับนักพัฒนาที่สนใจจะช่วยเหลือคนตาบอดได้ลองทำ ซึ่งหลาย ๆ ช่องทางนั้น อาจรวมเอาความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันของผู้พัฒนามาใส่ลงไปในระบบ เช่น ในกรณีของมหาวิทยาลัยแห่งลินคอล์นได้เพิ่มความสามารถพิเศษทางด้านการวัดระยะ มีมิติของระยะทางเพิ่มเข้าไป ในภาพ ทำให้คนตาบอดได้รับรู้ข้อมูล ในเชิงระยะทาง ซึ่งแตกต่างจากการอ่านภาพโดยทั่วไป การให้ข้อมูลแบบนี้ จะช่วยคนตาบอดได้เป็นอย่างดี สามารถบอกได้ว่า สิ่งต่าง ๆ ในภาพนั้น อยู่ห่างออกไปเท่าไร เมื่อคนตาบอดต้องไปในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย จะสามารถรู้ได้ว่า สิ่งที่อยู่ตรงหน้านั้นห่างออกไปเท่าใด

มีความพยายามอีกรูปแบบหนึ่งในกลุ่มนี้ จากนิสิตในโครงการอินโนเวชันฮับ (Innovation Hub) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังสร้างโครงการชื่อ “เปิดไฟให้คนตา บอด” ด้วยการสร้างอุปกรณ์พิเศษ ที่ติดตั้งไว้ในสถานที่ใด ๆ ก็ได้ เมื่อคนตาบอดเดินเข้าไปในระยะทางที่ตั้งไว้ จะมีเสียงพูด อธิบายถึงสภาพแวดล้อมภายในห้อง หรือสภาพแวดล้อมตรงนั้น จะทำให้ตาบอดได้รับรู้ถึงสภาพแวดล้อมตรงนั้น โดยไม่ต้องร้องขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เปรียบเสมือนกับการที่คนปกติ เดินเข้าไปในห้องห้องหนึ่งที่มีแสงสว่างเตรียมไว้ให้ คนปกติเหล่านั้นก็จะสามารถมองเห็นและรับรู้ถึงสภาพแวดล้อมตรงนั้นได้ เพียงแต่หลอดไฟส่องสว่างเหล่านั้น เกิดจากคนปกติที่เตรียมไว้ให้คนปกติ หากพวกเราในฐานะคนสร้างและพัฒนาคำนึงถึงเรื่องละเอียดอ่อนเหล่านั้น เราก็จะสามารถทำให้คนตาบอดรับรู้ข้อมูลของสถานที่และสภาพแวดล้อมตรงนั้นได้...ไม่ต่างจากเรา

จริง ๆ แล้ว ท่านผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้อ่านที่เป็นผู้บริหาร เป็นเจ้าของกิจการ หรือเป็นนักพัฒนา ยังสามารถใช้ความเชี่ยว ชาญ ความชำนาญของตนเองในการสร้างช่องทางอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือคนตาบอดหรือคนพิการอื่น ๆ ได้ เพียงแต่ต้องเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เข้าใจในสถานการณ์ที่จะใช้จริง ๆ “อย่างละเอียด” เช่น ถ้าอยากสร้างระบบสำหรับคนตาบอด ก็ต้องเข้าใจว่า คนตาบอดใช้ชีวิตอยู่อย่างไร ตรงไหน คือ ความสามารถที่เขาเหล่านั้นมีอยู่แล้ว ตรงไหนคือความสามารถที่เขามีโดดเด่นกว่าคนทั่วไป ตรงไหนเราสามารถช่วยได้ อะไรคือส่วนที่เขาอยากได้ อะไรที่เขาไม่ต้องการ

ถ้ามองโลกและเข้าใจคนอื่น ๆ รับรู้ถึงศักยภาพและขีดความสามารถที่เขาเหล่านั้นมี เราจะสามารถสร้างระบบที่ช่วยให้คนทุกคนสามารถใช้ชีวิตร่วมกัน อย่างเท่าเทียมกันและเป็นสุขได้นะครับ

ที่มา:

 

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 3,269 ครั้ง

คำค้นหา : ความช่วยเหลือจากโลกไซเบอร์ไปยังคนตาบอดกลุ่มอ่านหน้าจอ (Screen Reader) หนังสือเสียง (อย่าง Chula Daisy) กลุ่มที่พยายามถ่ายทอดข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมบอกเล่าข้อมูลของสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้กับคนตาบอดได้รับรู้มหาวิทยาลัยแห่งลินคอล์น