นักกฎหมายชี้เล่นเกมจับโปเกมอน เสี่ยงเจอซองขาว

นักกฎหมายชี้เล่นเกมจับโปเกมอน เสี่ยงเจอซองขาว

หมวดหมู่: บทความทั่วไป

ลูกจ้างจับโปเกมอนเวลางาน เจอซองขาวไล่ออกชวดเงิน
นักกฎหมายชี้เล่นเกมจับโปเกมอน เสี่ยงเจอซองขาว เผยฎีกาแชทเวลางานถูกนายจ้างไล่ออกได้ทันที แถมไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ชวดเงินชดเชยไม่ได้แม้แต่บาทเดียว เหตุทำให้งานเสียหาย

เรียกว่าฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมือง “ไล่ล่าจับโปเกมอน” เกมฮิตที่เหลียวไปทางไหน ก็เห็นแต่ผู้คนก้มหน้าจดจ่ออยู่กับหน้าจ่อสี่เหลี่ยมของสมาร์ทโฟน บางคนอาการหนักถึงขั้นแยกแยะสถานการณ์ไม่ได้ว่าควรเล่นหรือไม่ ก็จะเล่นตลอดเวลา อย่างหนุ่มเมืองร้อยเอ็ดชายหนึ่ง ที่เกือบพลัดตกลงไปในบึงพลาญชัย อีกทั้งหลายคนได้ใช้เวลางานเล่นเกมดังกล่าวอย่างสนุกสนาน เพื่อต้องการครอบครองโปเกมอนให้ได้จำนวนมากๆ จนอาจเสี่ยงถูกนายจ้างไล่ออกได้ทันที โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแม้แต่บาทเดียว

เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 8 ส.ค. “เดลินิวส์ออนไลน์” ได้รับการไขข้อกฎหมายจาก นายชาญชัย ฉายบุ นักกฎหมายอิสระและเจ้าของเพจ “ทนายเพื่อนคุณ” ระบุว่า การเล่นเกมจับโปเกมอน เสี่ยงถูกโดนไล่ออกตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541มาตรา 119(4) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง โดยลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน โดยหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้

นักกฎหมาย ยังเผยอีกว่า คำพิพากษาศาลฎีกา 2564/2557 โจทก์เป็นพนักงานยื่นฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยต่อศาลแรงงานว่า ไล่ออกเนื่องจากการเล่นเน็ต แชตโดยเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เนื่องจากเวลาทำงาน โจทก์เล่นเน็ตพูดคุยในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมงก็มี ถือว่าโจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยไปในเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ว่าจ้าง กรณีเช่นนี้เป็นการกระทำอื่นอันไม่สมควรแก่การปฎิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และการที่โจทก์ใช้เวลางานของจำเลยทำเรื่องส่วนตัวย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

“ลูกจ้างจับโปเกมอนในเวลางาน ถ้าทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วง โดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ทันที ดังนั้นนายจ้างไล่ออกโดยไม่ต้องบอกกล่าว และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง และน่ากลัวที่สุดคือ อุบัติเหตุ ขับรถไปเล่นไป ตกถนนคนเดียวไม่เท่าไหร่ จะพาชนคนอื่นไปด้วยอันตรายมาก ผิดกฎหมายอาญา มาตรา 291 ขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจำคุก 10 ปี และปรับ 2 หมื่นบาท ส่วนมาตรา 300 ขับรถชนผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ จำคุก 3 ปี หรือปรับ 6 พัน หรือทั้งจำทั้งปรับ” นักฎหหมาย กล่าวแนะนำ

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 3,427 ครั้ง

คำค้นหา : นักกฎหมายเกมจับโปเกมอนซองขาว สมาร์ทโฟน ค่าชดเชยคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแพ่งกฎหมายพาณิชย์สินไหมทดแทนการเล่นเน็ต ศาลฎีกาอุบัติเหตุ ขับรถไปเล่นไป ตกถนนนักฎหหมาย