วิธีป้องกันเหตุอาชญากรรมทางไอทีและอินเทอร์เน็ต

วิธีป้องกันเหตุอาชญากรรมทางไอทีและอินเทอร์เน็ต

หมวดหมู่: บทความทั่วไป

วันนี้มาเริ่มต้นโดยตั้งค่าการใช้อุปกรณ์ไอทีที่อยู่ใกล้ตัว ให้ปลอดภัยมากขึ้น ป้องกันเหตุอาชญากรรมทางไอทีและอินเทอร์เน็ต  ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลบนอุปกรณ์ไอทีของคุณไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือไม่ก็ข้อมูลบน Social Network อย่าง facebook , twitter รวมถึงบริการฝากไฟล์ Cloud ของคุณอาจถูกเจาะระบบ ขโมยข้อมูล หรือไฟล์ลับส่วนตัวกลายเป็นสาธารณะได้

ตั้งค่าคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัย

  • ตั้งรหัสผ่านการ Login เข้าสู่คอมพิวเตอร์ อย่าปล่อยให้เข้าสู่หน้า desktop โดยอัตโนมัติ
  • ติดตั้งโปรแกรม Anti Virus , Anti Spyware ด้วยโปรแกรมรักษาความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ และต้องเป็นของแท้เท่านั้น
  • อัพเดตฐานข้อมูลไวรัสและ สแกนตรวจไวรัสสม่ำเสมอ
  • ติดตั้งซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์แท้
  • หมั่นอัพเดตซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเพื่อความปลอดภัย (คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียด
  • อย่าคลิกลิงค์โฆษณาที่เวอร์เกินจริง ซึ่งอาจมีไวรัสมัลแวร์แฝงอยู่
  • นอกจากนี้สามารถอ่านบทความเรื่อง วิธีป้องกัน notebook หาย จับโจรได้โดยละม่อมพร้อมข้อมูลไม่หาย  (คลิกที่นี่ )   เพื่อสามารถตามหาโน๊ตบุ๊คหรือแท็บเล็ต windows กรณีทำหายหรือลืมได้ด้วย
  • อย่าคลิกลิงค์ที่ส่งมาจากอีเมล หรือจาก Social Network ที่ส่งมาจากคนที่ไม่รู้จัก (แนะนำหากพบควรลบทันที)
  • อ่านการใช้คอมในการซื้อของออนไลน์ให้ปลอดภัย
  • ท่องเน็ตเสร็จ อย่าลืมลบ HISTORY .
  • การท่องอินเตอร์เน็ต หมั่นตรวจสอบ url ว่าถูกต้องจริงมั้ย ป้องกันการหลงกรอกข้อมูลส่วนตัวให้เว็บปลอม
  • การท่องเว็บพวกธนาคาร อีเมล , shopping online และบริการอื่นๆที่ต้องใช้ username และ password ลองสังเกตเว็บเบราวเซอร์ว่ามีสัญลักษณ์แม่กุญแจหรือไม่
  • ตรวจสอบเว็บหรือไฟล์ว่ามีไวรัสหรือไม่ โดยอัพโหลด หรือนำลิงค์มาตรวจสอบ ที่เว็บไซต์ virustotal.com
  • ใช้ Wi-Fi หรือ อินเทอร์เน็ตเมื่อจำเป็น หากไม่ใช้แล้วควรตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อป้องกันการถูกขโมยข้อมูลทางออนไลน์
     

การตั้งค่า Social Network ให้ปลอดภัย

  • อ่าน หลักการใช้ social network เพื่อหลีกเลี่ยงภัยใกล้ตัว
  • ตั้งค่าความปลอดภัยของ facebook 
  • อ่านบทความ ภัยน่ากลัวของ Social Network สิ่งที่ควรระวังมีอะไรบ้าง?
  • ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว Privacy ของ facebook ที่ https://www.facebook.com/settings?tab=privacy
  • เอาแอพบน facebook ที่เราไม่ได้ใช้ออกไป ที่ https://www.facebook.com/settings/?tab=applications โดยเฉพาะแอพที่เราไม่รู้จัก หรือแอพที่เราไม่ใช้แล้ว ควรเอาออก
  • หากไม่เช็คอินอะไรให้ปิด Location มือถือ และไม่ควรเปิด Location และเช็คอินบ่อย จนคนอื่นรู้ว่า แต่ละวันคุณไปไหนมาบ้าง ที่สำคัญ อย่าเช็คอินที่บ้านเด็ดขาด
  • Login แล้วอย่าลืม Logout เมื่อไม่ใช้ เพื่อความปลอดภัยป้องกันคนอื่นสวมรอยใช้แทนเรา
  • ควรตั้งค่าการรักษาความปลอดภัย ด้วยการตรวจสอบความถูกต้อง 2 ขั้นตอน
     

การตั้งค่ามือถือแท็บเล็ต ให้ปลอดภัย

  • ตั้งค่าโทรศัพท์ ให้ปลอดภัยขึ้น ด้วยฟีเจอร์ Face Unlock , ตั้งรหัส pin , password , pattern หรือ สแกนลายนิ้วมือ ป้องกันคนอื่นแอบใช้มือถือเรากรณีเราลืมมือถือ หรือโจรขโมยมือถือเราไป (อ่านการตั้งค่าความปลอดภัยสำหรับ iOS8 ที่นี่ )
  • ติดตั้งแอพ AntiVirus และอัพเดตให้ฐานข้อมูลไวรัสสม่ำเสมอและควรสแกนเป็นประจำ
  • อย่าทำการ root เครื่องหรือ jailbreak เครื่อง ซึ่งจะนำพาแอพปลอม หรือแอพแฝงไวรัสเข้าสู่เครื่องได้ง่ายขึ้น
  • อ่านรีวิวก่อนโหลดแอพว่าแอพนี้น่าเชื่อถือหรือไม่ ปลอดภัยหรือไม่ อ่านแอพเกี่ยวกับการเข้าถึงส่วนต่างๆของมือถือว่าเหมาะสมหรือไม่ อย่าโหลดแอพทันทีถ้าคุณไม่รู้จัก ลองอ่านเรื่อง แอพไฟฉายแฮ็คข้อมูลมือถือคุณได้
  • อย่าใช้อุปกรณ์มือถือปลอม
  • อย่าดาวน์โหลดลิงค์จาก sms หรือทางแอพแชต จากคนไม่รู้จัก และอย่าโหลดไฟล์ apk ติดตั้งลงมือถือ ลองอ่านกรณีเหตุการณ์ไวรัส SMS  ที่นี่
  • ใช้ แอพ Google Authenticator บนมือถือ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยการใช้งานบัญชี Gmail, Google , android
  • ติดตั้งแอพ Find My iPhone  , Android Device Manager ตามหามือถือ กรณีหาย หรือลืม
  • ควรรักษารหัสผ่านบัญชี apple id , google account ไว้เป็นส่วนตัวอย่าให้คนอื่นรู้ และควรเปลี่ยนรหัสผ่านอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน
  • เลิกใช้เน็ต ควรปิด 3G, 4G , Wi-fi ทุกครั้ง
     

ตั้งค่าบริการฝากไฟล์บน cloud ให้ปลอดภัย

  • ควรตั้งรหัสผ่าน passcode บนแอพ google drive , onedrive , dropbox อีกชั้นสำหรับมือถือ เพราะส่วนใหญ่มือถือจะทำการ login สู่บริการ cloud โดยอัตโนมัติ
  • หรือถ้าไม่ใช้บริการ cloud ก็ควร Logout ทันที
  • ถ้าเป็นไปได้ควรตั้งค่า ตรวจสอบความถูกต้อง 2 ขั้นตอน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น
  • ไม่ควรฝากไฟล์ที่สำคัญมากขึ้น Cloud
     

การใช้เว็บ e-banking ให้ปลอดภัย

  • อย่าคลิกลิงค์ธนาคารที่ปรากฏบนอีเมล หากอยากรู้ให้พิมพ์ url เข้าชมเว็บไซต์ธนาคารเอง
  • ระวังเว็บธนาคารปลอม วิธีป้องกันและแก้ปัญหา  (คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียด)
  • อย่าโหลดแอพธนาคารปลอม ที่โหลดจากนักพัฒนารายอื่นที่ไม่ใช่แบรนด์ธนาคาร (ดูตัวอย่างแอพปลอมที่นี่)
  • หมั่นตรวจสอบเงินในบัญชีธนาคาร ทั้งการปรับสมุดบัญชีและ เช็คผ่านทางเว็บไซต์ e-banking
  • ที่สำคัญสุดคือ ติดตามข่าวสารไอทีมากขึ้นโดยเฉพาะประเด็นเรื่องข่าวไอที ด้านความปลอดภัย อย่างใกล้ชิด เพราะภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ มือถือ และอินเทอร์เน็ต เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ  และอาจกระทบถึงอุปกรณ์ หรือบริการไอทีหรือเว็บที่คุณใช้อยู่

 

ที่มา https://www.itday.in.th

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 4,761 ครั้ง

คำค้นหา : ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตการตั้งค่าคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัยการตั้งค่ามือถือแท็บเล็ต ให้ปลอดภัยการตั้งค่า Social Network ให้ปลอดภัย