วิธีเซ็นสำเนาถูกต้อง เซ็นรับรองอย่างไร ปลอดภัย

วิธีเซ็นสำเนาถูกต้อง เซ็นรับรองอย่างไร ปลอดภัย

หมวดหมู่: บทความทั่วไปTip & Technicข่าวไอที

วิธีเซ็นสำเนาถูกต้อง เซ็นรับรองอย่างไร ปลอดภัยชัวร์ !

 

การเซ็นสำเนาถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน เอกสารต่าง ๆ เพื่อใช้ติดต่อธุรกรรมทางการเงิน สมัครเรียน สมัครงาน เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องศึกษาไว้ มาดูวิธีเซ็นสําเนาถูกต้องให้ปลอดภัย ป้องกันภัยจากมิจฉาชีพกันเถอะ !

ในปัจจุบัน การทำธุรกรรม หรือยืนยันสิทธิบางอย่าง ยังคงต้องใช้สำเนาเอกสาร เพื่อเป็นหลักฐานในการยืนยันตัวตน ซึ่งถ้าหากไม่ระมัดระวังให้ดี เอกสารสำเนาเหล่านี้อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำไปปลอมแปลง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่เราได้


โดยเฉพาะสำเนาบัตรประชาชนที่มีข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญ ทั้งชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ และหมายเลขคำขอ (เลขใต้รูปถ่าย) ซึ่งเสี่ยงถูกมิจฉาชีพนำไปปลอมแปลงเอกสารได้บ่อยที่สุด เราจึงจำเป็นต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างถูกวิธี ดังนั้นวันนี้ เราจึงนำข้อมูลวิธีการเซ็นรับรองสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จากกรมการปกครอง มาฝากกัน

 

วิธีเซ็นสำเนาถูกต้อง สำหรับบัตรประชาชน

     1. ขีด 2 เส้นคู่ขนานคร่อมที่ตัวสำเนา จากมุมล่างซ้ายไปมุมบนขวา

     2. เขียนข้อความกำกับวัตถุประสงค์ ระหว่างเส้นคร่อมสำเนา
          - ระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่าใช้สำเนานี้ทำอะไร
          - โดยขึ้นต้นว่า "เพื่อใช้..." และลงท้ายประโยคด้วยคำว่า "...เท่านั้น" พร้อมเขียนเครื่องหมาย "#" ปิดหัวท้ายของข้อความ เพื่อป้องกันการเติมข้อความภายหลัง
          - เช่น "# เพื่อใช้สมัครงานที่ (...ชื่อบริษัท...) เท่านั้น #" หรือ "# เพื่อใช้สำหรับติดต่อเรื่อง (...ระบุรายละเอียด...) เท่านั้น #"

     3. เขียน วัน เดือน ปี ที่เซ็นสำเนากำกับเอกสาร
          นอกจากการเขียนรายละเอียดกำกับการใช้แล้ว ควรเขียนระบุ วัน เดือน ปี กำกับสำเนาด้วยทุกครั้ง เพื่อใช้ยืนยันวันที่ใช้งาน และยังเป็นการระบุกำหนดอายุการใช้งานเอกสารสำเนานี้อีกด้วย

     4. รับรองสำเนาถูกต้อง
          โดยเขียนว่า "สำเนาถูกต้อง" พร้อมลงลายมือชื่อ คาดทับรูปถ่าย เพื่อป้องกันการเปลี่ยนรูปถ่าย

     5. ข้อแนะนำเพิ่มเติม
          - ควรใช้ปากกาหมึกสีดำลงลายมือชื่อในสำเนา เพราะเครื่องถ่ายเอกสารบางชนิดสามารถถ่ายเอกสารโดยดึงหมึกสีน้ำเงินออกให้เหลือแต่ข้อมูลบัตรประชาชนบนหน้าสำเนาได้
          - ให้ถ่ายสำเนาด้านหน้าบัตรที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลเพียงด้านเดียวเท่านั้น (ไม่ต้องถ่ายหลังบัตร) เพราะเสี่ยงต่อการถูกสวมรอยได้ เนื่องจากด้านหลังบัตรประชาชนจะมี Laser ID ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการใช้ทำธุรกรรม ตรวจสอบ และยืนยันตัวตน

 

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงข้อแนะนำจากกรมการปกครอง เพื่อความปลอดภัยในการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร แต่ในข้อปฏิบัติจริง หน่วยงานรัฐ และเอกชนบางแห่ง อาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น..

          - ข้อกำหนดในการใช้สีปากกา บางแห่งอาจระบุให้ใช้ปากกาสีดำเท่านั้น หรือใช้ปากกาสีน้ำเงินเท่านั้น หรืออาจไม่ได้กำหนดสีของปากกาเป็นพิเศษ

          - การขีดเส้นคร่อม หรือตำแหน่งการเซ็นลายมือบนหน้าบัตร บางองค์กร หรือบางหน่วยงาน อาจให้เซ็นข้อมูลไว้มุมขวาล่างแทนการเซ็นคร่อมทับสำเนา เนื่องจากอาจบดบังข้อมูลบนเอกสาร เป็นต้น

          ดังนั้น ก่อนที่จะเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องควรสอบถามเจ้าหน้าที่ หรือตรวจสอบข้อปฏิบัติภายในแต่ละหน่วยงานทุกครั้ง

 

สนับสนุนภาพและเนื้อหา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย , 

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย Nong-beam
เข้าชม 167 ครั้ง

คำค้นหา : การเซ็นบัตรวิธีเซ็นสำเนาถูกต้องวิธีเซ็นสำเนาการเซ็นบัตรประชาชนขั้นตอนเซ็นบัตรคำแนะนำการเซ็นบัตรรูปแบบเซ็นบัตรการเซ็นสำเนาให้ถูกวิธี