ศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ แห่งแรกในประเทศไทย

ศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ แห่งแรกในประเทศไทย

หมวดหมู่: บทความทั่วไปMobile AppsAndroidiOSข่าวไอที

ศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ 
ศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ ก้าวมาสู่ “ศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ท ซิตี้ รีเสิร์ช เซ็นเตอร์” แห่งแรกในประเทศไทย

จากแนวคิดสมาร์ทซิตี้หรือนครอัจฉริยะ ที่บริษัทชั้นนำของโลกหลายแห่งกำลังให้ความสำคัญ และมองเป็นโอกาสและยุทธศาสตร์ในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ๆ

ก้าวมาสู่ “ศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ท ซิตี้ รีเสิร์ช เซ็นเตอร์” แห่งแรกในประเทศไทย ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2557

“รศ.ดร.เอกชัย สุมาลี” ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายจราจรและขนส่งมวลชนและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บอกว่า เมืองใหญ่ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มักมีปัญหาในการบริหารจัดการเมืองตามมา ทั้งด้านจราจร มลภาวะ ขยะ ความสิ้นเปลืองด้านพลังงาน และปัญหาอื่น ๆ ทางสังคม

การพัฒนาเมืองแบบนครอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดในการแก้ปัญหา ที่กำลังได้รับความสนใจจากภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วโลก รวมถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่จัดตั้งศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ ขึ้นเมื่อเกือบสองปีที่ผ่านมา โดยเป็นศูนย์วิจัยเฉพาะด้าน

รศ.ดร.เอกชัย บอกว่า หัวใจหลักของการพัฒนาเมืองในรูปแบบนี้ก็คือ การปรับใช้ระบบไอที เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการเมือง ครอบคลุมทั้งการจัดการระบบขนส่ง การสร้างข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจวางแผน การให้ข้อมูลกับประชากร การจัดการระบบพลังงาน การจัดการระบบน้ำ และการจัดการโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ของเมือง

การปรับใช้ระบบไอทีจะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบคือ การใช้ระบบเก็บข้อมูลในหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภค การดำรงชีวิต และสถานภาพของโครงสร้างพื้นฐานในเมือง อาจเป็นการพัฒนาโครงสร้างโดยเฉพาะเพื่อการจัดเก็บ เช่น ระบบสมาร์ท มิเตอร์ สำหรับเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ระบบตรวจจับสภาพจราจรแบบอัตโนมัติผ่านทางกล้องซีซีทีวี หรือการใช้ระบบคลาวด์-ซอร์ส (Crowd-source) ที่เก็บข้อมูลโดยตรงจากประชากร ทั้งในรูปแบบการรายงานโดยตรงจากผู้ใช้ หรือ เก็บข้อมูลอัตโนมัติจากโซเชียลมีเดียต่าง ๆ

องค์ประกอบต่อมาคือการสร้างระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บได้ เพื่อหารูปแบบพฤติกรรมของประชากร และสถานะของโครงสร้างพื้นฐานภายใต้ปัจจัยต่าง ๆ เช่น จากข้อมูลโซเชียล เน็ตเวิร์ก ผ่านทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊ก ที่เก็บได้ในกรุงเทพฯ ในส่วนของข้อความที่เกี่ยวเนื่องกับความพึงพอใจในการให้บริการของรถประจำทาง ระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปผ่านกระบวนการวิเคราะห์ในแบบการทำเหมืองข้อมูลหรือ Data Mining เพื่อวิเคราะห์ถึงลำดับความสำคัญของปัญหา รวมถึงสามารถวิเคราะห์ถึงต้นเหตุของปัญหาจราจรในพื้นที่ต่าง ๆเพื่อวางแผนการจัดการระบบจราจรได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสุดท้ายคือการปรับใช้ผลในการวิเคราะห์ในการควบคุมจัดการโครงสร้างพื้นฐาน หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ของประชากร

รศ.ดร.เอกชัย บอกว่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในการปรับใช้ผลจากการวิเคราะห์ก็คือ ระบบสัญญาณไฟจราจร ถ้าระบบมีความเป็นอัจฉริยะ หลังจากได้รับข้อมูลกระแสจราจร และความแออัดในถนนต่าง ๆ ระบบวิเคราะห์จะสามารถระบุถึงการปรับเปลี่ยนระยะเวลาสำหรับสัญญาณไฟที่จุดต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางในการเดินทาง และความแออัดในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที รศ.ดร.เอกชัย บอกอีกว่า สำหรับการพัฒนาในแบบสมาร์ท ซิตี้ นอกจากจะลดการใช้ทรัพยากร เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแล้ว ยังเพิ่มความโปร่งใสในการบริหารจัดการเมือง และมีการวางนโยบายโครงสร้างพื้นฐานจากฐานข้อมูลที่ได้จากระบบต่าง ๆ

ปัจจุบันศูนย์วิจัยฯ นอกจากจะเข้าไปช่วยพัฒนาระบบ All Thai Taxi หรือระบบบริการรถแท็กซี่จากนครชัยแอร์ ที่สามารถเรียกใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นได้แล้ว ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบระบบบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของเมืองผ่านคลาวด์-ซอร์สโดยจะเป็นระบบโมบายแอพพลิเคชั่น ใช้ได้ทั้งไอโอเอส และแอนดรอยด์ ซึ่งจะเป็นช่องทางให้ประชาชนรายงานปัญหาต่าง ๆ ในเมืองกลับมายังฐานข้อมูลส่วนกลาง

เช่น ผู้ใช้สามารถถ่ายรูปจุดที่มีน้ำท่วมขังเพื่อรายงานพร้อมตำแหน่งมายังฐานข้อมูลส่วนกลาง หรือสามารถถ่ายรูปเสาไฟแสงสว่างที่ชำรุดพร้อมตำแหน่ง โดยที่ระบบส่วนกลางจะประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากประชาชนเพื่อผ่านการวิเคราะห์และสรุปสถานะของเมือง และแผนในการบำรุงรักษาเมือง

นอกจากนั้นระบบจะส่งผลการปรับปรุงหรือซ่อมแซมกลับไปยังผู้รายงาน นอกจากนี้ทางศูนย์วิจัยฯ ยังมีแผนในการจัดทำเรตติ้งของเมืองหรือ KMITL City Rating เพื่อจัดลำดับคุณภาพชีวิตของเมืองเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริหารท้องถิ่นให้ความใส่ใจในการดูแลรักษา และพัฒนาคุณภาพชีวิตในเมืองอีกด้วย.

ที่มา:

 

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 4,522 ครั้ง

คำค้นหา : “ศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ท ซิตี้ รีเสิร์ช เซ็นเตอร์”ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเมืองใหญ่ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มักมีปัญหาในการบริหารจัดการเมืองทั้งด้านจราจร มลภาวะ ขยะ ความสิ้นเปลืองด้านพลังงาน และปัญหาอื่น ๆ ทางสังคมได้รับความสนใจจากภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วโลก ระบบสมาร์ท มิเตอร์ สำหรับเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้าระบบตรวจจับสภาพจราจรแบบอัตโนมัติผ่านทางกล้องซีซีทีวี การใช้ระบบคลาวด์-ซอร์ส (Crowd-source) ที่เก็บข้อมูลโดยตรงจากประชากร เก็บข้อมูลอัตโนมัติจากโซเชียลมีเดียต่าง ๆ กระบวนการวิเคราะห์ในแบบการทำเหมืองข้อมูลหรือ Data Mining ระบบบริการรถแท็กซี่จากนครชัยแอร์ ที่สามารถเรียกใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่น