เทคโนโลยีดักจับอารมณ์อันอ่อนไหวของมนุษย์

เทคโนโลยีดักจับอารมณ์อันอ่อนไหวของมนุษย์

หมวดหมู่: บทความทั่วไปTip & Technicข่าวไอที

เครื่องจับอารมณ์มนุษย์
ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ วันนี้เป็น วันตรุษจีน ชาวจีนถือเป็นวันมงคล ต้องพูดแต่เรื่องดีๆ ทำแต่สิ่งดีๆ จะได้เป็นมงคล ทำให้ได้เจอแต่สิ่งดีๆ โชคดีตลอดปี วันนี้ผมขอนำเรื่องดีๆที่เกิดขึ้นในโลกมาเล่าสู่กันฟัง เป็นเรื่องดีๆที่เกิดจาก “สติปัญญามนุษย์” นำไปสู่ “สติปัญญาประดิษฐ์” ที่เป็นเครื่องจักร แต่ฉลาดรู้เท่าทันมนุษย์ทุกอย่าง

เรื่องนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว แต่วันนี้กำลังบูมมากๆ

วันพุธที่แล้ว ซีเอ็นบีซี รายงานจาก กรุงลอนดอน ว่า ไมโครซอฟท์ บริษัทซอฟท์แวร์ยักษ์ใหญ่อเมริกัน ได้ซื้อ Swiftkey บริษัทสตาร์ทอัพด้านปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence (AI) ที่มีสำนักงานอยู่ในกรุงลอนดอนเป็นเงิน 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราว 9,000 ล้านบาท สวิฟท์คีย์เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่คิดค้น ปัญญาประดิษฐ์ ที่ สามารถทำนายคีย์บอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ได้

ไมโครซอฟท์ ไม่ใช่บริษัทไอทียักษ์ใหญ่สหรัฐฯรายแรก ที่เข้าไปซื้อบริษัทสตาร์ทอัพเล็กๆอย่าง สวิฟท์คีย์ ที่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่นาน ปี 2012 อเมซอน เว็บไซต์ขายหนังสือออนไลน์ยักษ์ใหญ่สหรัฐฯก็ได้ไปซื้อบริษัท Evi Technology บริษัทสตาร์ทอัพจาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นเจ้าของซอฟท์แวร์ที่ “คล้ายสิริ” ของค่ายแอปเปิล ผู้ใช้สามารถพูดคุยกับเครื่องและถามคำถามต่างๆได้

เมื่อปี 2014 ค่ายเสิร์ชเอนจินยักษ์ใหญ่ กูเกิล ก็ทุ่มเงิน 400 ล้านปอนด์ 582 ล้านเหรียญ 20,000 กว่าล้านบาท ซื้อบริษัท DeepMind ของอังกฤษมาเป็นเจ้าของ จากการทดสอบความฉลาดของเจ้าดีพมายด์เมื่อเร็วๆนี้พบว่า เจ้าดีพมายด์มีความฉลาดเหนือเกม “โกะ” หรือ เกมหมากล้อม อันโด่งดังของจีน

แล้ว กูเกิล ก็ใช้บริษัท DeepMind ไปซื้อบริษัทสตาร์ทอัพ ดาร์ค บลู แล็บส์ และ วิชั่น แฟคตอรี สองบริษัทปัญญาประดิษฐ์ที่มีรากเหง้ามาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเช่นกัน

เมื่อต้นปีนี้ แอปเปิล ค่ายสมาร์ทโฟนยักษ์ใหญ่สหรัฐฯ ได้ประกาศการซื้อกิจการสตาร์ทอัพที่เรียกว่า Emotient ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ สามารถดักจับอารมณ์อันอ่อนไหวของมนุษย์ได้ ถ้าแอปเปิลนำออกขายเมื่อไหร่ วันไหนก้าวเท้าออกจากบ้าน อารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดี กดดูอารมณ์ตัวเองจากซอฟท์แวร์อีโมเชี่ยน แป๊บเดียวก็รู้เรื่อง หรือ จะใช้ซอฟท์แวร์อีโมเชี่ยนคอยจับอารมณ์ของคู่สนทนาก็ได้ จะได้รู้ว่าอีกฝ่ายมีอารมณ์เป็นฉันใด เพื่อจะช่วยให้การเจรจาต่างๆราบรื่นขึ้น ไม่ต้องโต้เถียงทะเลาะกัน

เป็นซอฟท์แวร์ที่มหัศจรรย์จริงๆ ไม่รู้แอปเปิลจะนำมาใส่ไว้ในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเมื่อไหร่ มีหวังขายดีอีกแน่นอน

วันนี้ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กำลังเนื้อหอม เพราะ เป็นแหล่งรวมคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ จากระบบการศึกษาที่ดีเลิศ โดยเฉพาะสองมหาวิทยาลัยชื่อดังชั้นยอด ออกซ์ฟอร์ด และ เคมบริดจ์ ที่เป็นแหล่งผลิตเด็กเก่งออกไปเป็นสตาร์ทอัพ เบน เม็ดล็อค และ จอน เรย์โนล์ด ผู้ก่อตั้งบริษัท Swiftkey ก็เป็นอดีตนักศึกษาเคมบริดจ์ และสองบริษัทปัญญาประดิษฐ์ที่ดีพมายด์เทกโอเวอร์ก็จบมาจากออกซ์ฟอร์ด

ถ้าท่านผู้อ่านจำได้ ผมเคยเล่าถึง มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ที่นำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยไปต่อยอดผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่าย จนถึงขั้นนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อหาทุนเข้ามหาวิทยาลัย และใช้เงินเพื่อการวิจัยใหม่ วันนี้ ออกซ์ฟอร์ด และ เคมบริดจ์ ก้าวไปอีกขั้น ผลิตบัณฑิตที่สามารถสร้างปัญญาประดิษฐ์ได้มากมาย และก่อตั้งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพมากมาย

เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างมาก อย่าง Siri ของ แอปเปิล วันนี้แปลคำพูดภาษาไทยเป็นตัวหนังสือได้ถูกต้องอย่างเหลือเชื่อ และแปลภาษาอื่นได้อีกหลายสิบภาษา

อีกไม่ช้าผมเชื่อว่า ปัญญาประดิษฐ์ จะฉลาดแซงหน้า ปัญญามนุษย์ แน่นอน วันนี้ผมมีแต่เรื่องดีๆมาเล่าสู่กันฟัง ไม่มีคอมเมนต์ เพื่อให้มีแต่สิ่งดีๆในวันตรุษจีน.

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 4,537 ครั้ง

คำค้นหา : สติปัญญามนุษย์สติปัญญาประดิษฐ์ซีเอ็นบีซี Swiftkey Artificial Intelligence (AI)สามารถทำนายคีย์บอร์ด แป้นพิมพ์ในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนไมโครซอฟท์บริษัท Evi Technologyมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ บริษัท DeepMind Emotient ซอฟท์แวร์อีโมเชี่ยน