เทรนด์การทำตลาดผ่านโทรศัพท์มือถือปี 2559

เทรนด์การทำตลาดผ่านโทรศัพท์มือถือปี 2559

หมวดหมู่: บทความทั่วไปMobile Appsข่าวไอที

‘โมบาย 3.0’ เทรนด์ตลาดผ่านมือถือปี 2559 
‘โมบาย 3.0’ เทรนด์ตลาดผ่านมือถือปี 2559 เทรนด์การทำตลาดผ่านโทรศัพท์มือถือปี 2559 จะเป็นแบบ “โมบาย 3.0” หรือเรียกว่ายุคของการบริการผ่านโทรศัพท์มือถือตามแนวคิด “โมบาย เฟิร์สท์ ”

...ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะลึก จากการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าแล้วส่งโปรโมชั่นแบบเฉพาะรายบุคคลเข้าโทรศัพท์มือถือ

นายธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทู ทรี เปอร์สเปคทีฟ จำกัด กล่าวว่า เทรนด์การทำตลาดผ่านโทรศัพท์มือถือปี 2559 จะเป็นแบบ “โมบาย 3.0” หรือเรียกว่ายุคของการบริการผ่านโทรศัพท์มือถือตามแนวคิด “โมบาย เฟิร์สท์ ” (Mobile First) ที่ออกแบบให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง และนำความสามารถเฉพาะของสมาร์ทโฟนทั้งด้านโมบายคอนเทนต์ และโมบายคอมเมิร์ซมาวิเคราะห์ผล เพื่อให้เกิดการให้บริการเฉพาะเจาะจงแก่ผู้บริโภคแต่ละคน ขณะเดียวกันผู้บริโภคแต่ละคนก็สามารถเลือกได้ว่าต้องการรับข้อมูลหรือข่าวสารแบบไหน

นายธนพงศ์พรรณ กล่าวต่อว่า ปัจจัยที่ทำให้มองว่าโมบายเทรนด์ ปี 2559 จะเป็นแบบ “โมบาย 3.0” คือ วันนี้ไทยมีผู้ใช้งานเลขหมายโทรศัพท์มือถือกว่า 110 ล้านเลขหมาย และเป็นผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมากถึง 37 ล้านคน ขณะที่ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมีการเข้าใช้งานผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น มากถึง 80% และเข้าใช้งานผ่านโมบายเบราว์เซอร์เพียง 20% นอกจากนี้ยังพบว่าผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของเฟซบุ๊ก (Facebook) และอาลีบาบา (Alibaba) มีรายได้ผ่านมือถือคิดเป็นสัดส่วน 76% และ 51% ของรายได้ทั้งหมดตามลำดับ

โมบาย 3.0 จะทำให้โมบายแอพพลิเคชั่น หรือแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือโตตามไปด้วย ซึ่งเป็นการโตที่ไม่ได้ไปแย่งสัดส่วนของช่องทางดิจิตอลมีเดียอื่น ๆ เช่น เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และไลน์ เพราะโมบายแอพพลิเคชั่นจะเป็นส่วนเสริมทำให้เกิดการสื่อสารแบบรายบุคคลหรือเฉพาะบุคคลมากขึ้น ทั้งยังสามารถทำโปรโมชั่นเจาะจงสิทธิพิเศษให้ลูกค้าแต่ละคนได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานของลูกค้าแต่ละคน เช่น ให้ส่วนลด 10% สำหรับลูกค้าที่ซื้อของทุกเดือน หรือให้ส่วนลด 50% สำหรับลูกค้าที่ซื้อของทุกสัปดาห์ หรือทำโปรโมชั่นที่แตกต่างตามพฤติกรรมการใช้งานและความชอบแบบรายบุคคล” นายธนพงศ์พรรณ กล่าว

นายธนพงศ์พรรณ มองว่า ปี 2559 จะเป็นจุดเริ่มต้นของ โมบาย 3.0 ในประเทศไทย ซึ่งวันนี้ยังไม่มีธุรกิจหรือองค์กรไหนทำโมบาย 3.0 โดยนำข้อมูลการใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่น ของลูกค้ามาวิเคราะห์และสื่อสารแบบรายบุคคล ส่วนธุรกิจในต่างประเทศที่ทำแล้ว ได้แก่ ลาซาด้า (Lazada) อาลีบาบา และเฟซบุ๊ก ซึ่งใช้ทุกช่องทางของออนไลน์ทำให้กลุ่มเป้าหมายเห็น และเกิดการเข้าใช้งาน ก่อนจะซื้อสินค้า

สำหรับหลักการทำงานของโมบาย 3.0 ไม่ได้เป็นการพัฒนาแบบเดิม ๆ แต่นำสิ่งที่อุตสาหกรรมมีอยู่แล้วมาใช้งาน เป็นการหลอมรวมแอพพลิเคชั่นและเทคโนโลยีที่มี ยกเว้นองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้งานของบิ๊ก ดาต้า ก็ต้องให้ฝ่ายไอทีไปพัฒนาระบบและจัดหาโซลูชั่นเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ส่วนธุรกิจขนาดเล็กสามารถใช้เครื่องมือการทำโมบายแอพพลิเคชั่นที่เปิดให้ใช้งานฟรีได้โดยไม่ต้องลงทุนในปริมาณมาก ๆ เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนไปทุก ๆ 3 เดือน แต่ปัญหาวันนี้คือเจ้าของธุรกิจไม่รู้ว่าทำโมบายแอพพลิเคชั่น ต้องทำอย่างไร

นายธนพงศ์พรรณ กล่าวว่า กลุ่มธุรกิจที่จะรุ่งเมื่อทำโมบาย 3.0 คือ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจด้านการบริการ ธุรกิจสื่อและความบันเทิง เนื่องจากสามารถเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลได้ เช่น ธุรกิจสื่อ การมีโมบายแอพพลิเคชั่น นอกเหนือจากเว็บไซต์ วิทยุ ทีวี ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ต้องการได้และสามารถเลือกหมวดข่าวที่สนใจได้เอง ขณะที่ธุรกิจด้านการบริการ เช่น ธุรกิจประกัน และธนาคาร สามารถใช้โมบายแอพพลิเคชั่น เป็นช่องทางสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ เช่น จัดกิจกรรมเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีเงินฝากประจำวงเงินสูง หรือจัดกิจกรรมสำหรับลูกค้าที่เพิ่งเริ่มต้นเปิดบัญชีฝากประจำ อย่างไรก็ตามการใช้งานโมบายแอพพลิเคชั่น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ เช่น ใช้เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับตราสินค้า หรือเพื่อเพิ่มฐานลูกค้า นายธนพงศ์พรรณ แนะนำว่า สำหรับธุรกิจที่ต้องการก้าวสู่โมบาย 3.0 อันดับแรกต้องรู้ว่าใครคือลูกค้าของธุรกิจ อันดับสองสังเกตพฤติกรรมของลูกค้าจากการสื่อสารกับหน่วยงานผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซ บุ๊ก ไลน์ และอินสตาแกรม กรณีที่ยังไม่มีช่องทางโซเชียลมีเดียเพื่อสื่อสารกับลูกค้าให้เปิดใช้งานก่อน เพื่อศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นหาเครื่องมือฟรีสำหรับทำโมบายแอพพลิเคชั่น ซึ่งการทำโมบายแอพพลิเคชั่น จะทำให้เกิดการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าแบบรายบุคคลสามารถจัดทำโปรโมชั่นแบบรายบุคคลได้ และเป็นการสร้างความจงรักภักดีในตัวสินค้าและแบรนด์

วันนี้ทั่วโลกมีโมบายแอพพลิเคชั่น ทั้งบนแอนดรอยด์และไอโอเอสกว่า 3 ล้านแอพพลิเคชั่น ขณะที่ไทยมีโมบายแอพพลิเคชั่น ที่สร้างโดยธุรกิจไทยหลายหมื่นแอพพลิเคชั่น แต่ส่วนใหญ่เป็นแอพพลิเคชั่นแบบ 1.0 สร้างแอพพลิเคชั่นให้แบรนด์หรือองค์กร และแอพพลิเคชั่นแบบ 2.0 เป็นแอพพลิเคชั่น ที่มีบริการผ่านโมบายมากขึ้น เช่น การซื้อขายและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งการมาของโมบายแอพพลิเคชั่นแบบ 3.0 จะทำให้เกิดการสร้างโมบายแอพพลิเคชั่นที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและยื่นเสนอข้อมูลโปรโมชั่นให้ลูกค้าแบบรายบุคคลได้

การเปิดรับและเรียนรู้ที่จะใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด “โมบาย 3.0” โดยสิ่งที่จะทำให้โมบายแอพพลิเคชั่นแบบ 3.0 ประสบความสำเร็จได้ คือ การพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เข้าใจความต้องการของลูกค้าและรู้ว่าลูกค้ามีการใช้สื่อดิจิตอลในแต่ละวันอย่างไร รอดูกันว่า “โมบาย 3.0” จะเข้ามาทำให้การใช้งานโทรศัพท์มือถือมีสีสันมากเพียงใด.

ที่มา;

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 3,919 ครั้ง

คำค้นหา : เทรนด์การทำตลาดผ่านโทรศัพท์มือถือปี 2559 จะเป็นแบบ “โมบาย 3.0” ยุคของการบริการผ่านโทรศัพท์มือถือตามแนวคิด “โมบาย เฟิร์สท์ ”ออกแบบให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางนำความสามารถเฉพาะของสมาร์ทโฟนทั้งด้านโมบายคอนเทนต์ ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมีการเข้าใช้งานผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น มากถึง 80% เข้าใช้งานผ่านโมบายเบราว์เซอร์เพียง 20% เป็นการพัฒนาแบบเดิม ๆ แต่นำสิ่งที่อุตสาหกรรมมีอยู่แล้วมาใช้งานเป็นการหลอมรวมแอพพลิเคชั่นและเทคโนโลยีที่มี