เทเลพรอมพ์เตอร์ + กูเกิลกลาส

เทเลพรอมพ์เตอร์ + กูเกิลกลาส

หมวดหมู่: บทความทั่วไปพัฒนาเว็บไซต์ข่าวไอที

เทเลพรอมพ์เตอร์ + กูเกิลกลาส = ฮัดเวย์กลาส?
เทเลพรอมพ์เตอร์ + กูเกิลกลาส = ฮัดเวย์กลาส? ฮัดเวย์กลาสเป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนามาให้ใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่นบนมือถือสมาร์ทโฟนชื่อ HUDWAY app พัฒนาโดยทีมวิจัยจากประเทศรัสเซีย โดยแอพพลิเคชั่นนี้จะทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลต่าง ๆ

เมื่อเดือนก่อนผมได้แนะนำให้คุณผู้อ่านรู้จักกับเทคโนโลยีที่พวกเราไม่ค่อยรู้กันว่ามีอยู่แต่ก็เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้บรรดาผู้นำระดับโลกสามารถกล่าวสุนทรพจน์ยาว ๆ ได้อย่างคล่องแคล่วมาช้านาน หรือก็คือ เทคโนโลยีเครื่องเทเลพรอมพ์เตอร์ (Teleprompter) นั่นเอง

ซึ่งถ้าคุณผู้อ่านยังจำได้ เทคโนโลยีนี้มีไฮไลต์สำคัญอยู่ที่แผ่นกระจกใสที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนจอโทรทัศน์วางอยู่รอบ ๆ ในระดับสายตาของผู้กล่าวสุนทรพจน์และคอยขึ้นสุนทรพจน์ให้บรรดาผู้นำได้เหลือบดูหรืออ่านตามได้ ซึ่งกระจกใสนี้ใช้เทคนิคการสะท้อนกระจกเพียงด้านเดียว ทำให้เมื่อมองจากมุมของผู้กล่าวสุนทรพจน์จะมองเห็นข้อความที่สะท้อนจากจอมอนิเตอร์ปรากฏบนกระจกแต่ถ้ามองจากมุมอื่นจะเห็นเป็นเพียงแผ่นพลาสติกใส ๆ ว่างเปล่าธรรมดา ซึ่งเทคนิคการสะท้อนกระจกอย่างที่ใช้สำหรับเครื่องเทเลพรอมพ์เตอร์นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เรื่องอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการนำไปบูรณาการกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) จนได้เป็นจอแสดงผลอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ที่น่าสนใจสำหรับใช้ในรถยนต์ที่เรียกว่าฮัดเวย์กลาส (HUDWAY Glass) ครับ

คำว่า HUD ในฮัดเวย์กลาสมีที่มาจาก Head-Up Display หรือหน้าจอแสดงผลบนกระจก ในส่วนคำว่า Way และคำว่า Glass ในฮัดเวย์กลาสก็มีความหมายตรงไปตรงมาคือ ทาง (Way) กับ แว่น (Glass) โดยแม้จะมีชื่อว่าแว่น (Glass) เหมือนกันแต่ไอเดียของฮัดเวย์กลาสจะต่างกับกูเกิลกลาสตรงที่เราไม่จำเป็นต้องสวมเจ้าฮัดเวย์กลาสให้เกะกะดั้งจมูกเหมือนสวมแว่นตาติดตัว แต่ตัวฮัดเวย์กลาสจะเป็นกระจกโปร่งแสงซึ่งถูกติดตั้งอยู่ในระดับสายตาพอดีทำให้เรามองเห็นภาพข้างหน้ารวมถึงภาพอะไรก็ตามที่สะท้อนอยู่บนกระจกนั้นซ้อนกันได้เหมือนเวลามองผ่านแว่นตากูเกิลกลาส ซึ่งว่าไปแล้วมันก็คือการนำหลักการของกูเกิลกลาสกับเครื่องเทเลพรอมพ์เตอร์มาใช้ร่วมกันนั่นเองครับ

ฮัดเวย์กลาสเป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนามาให้ใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่นบนมือถือสมาร์ทโฟนชื่อ HUDWAY app พัฒนาโดยทีมวิจัยจากประเทศรัสเซีย โดยแอพพลิเคชั่นนี้จะทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลต่าง ๆ สำหรับช่วยเหลือผู้ขับขี่รถยนต์บนท้องถนน เช่น ถ้าเป็นทางอันตรายจะมีขึ้นไฮไลต์สีแสงเพื่อเตือนคนขับให้ขับด้วยความระมัดระวัง หรือถ้าเป็นช่วงที่หมอกลงจัดจะมีข้อมูลช่วยให้คนขับสามารถขับรถได้ง่ายมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งแอพพลิเคชั่นนี้สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนทั้งในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส

ถ้าฮัดเวย์กลาสจบลงแค่มี HUDWAY app มันก็คงจะไม่ได้น่าสนใจมากไปกว่าการใช้ Google Map สักเท่าไหร่ใช่ไหมครับ แต่สิ่งที่ทำให้ฮัดเวย์กลาสเจ๋งกว่าแอพพลิเคชั่นนำทางทั่วไปบนสมาร์ทโฟนก็คืออุปกรณ์ขนาดเล็กติดแผ่นกระจกใสที่มาพร้อมกัน ซึ่งดูเผิน ๆ หน้าตาเหมือนแท่นใสสำหรับใส่เอกสารตั้งโชว์ยังไงยังงั้น แต่เมื่อนำสมาร์ทโฟนที่ลงแอพพลิ เคชั่น HUDWAY app ไปประกอบเข้ากับตัวอุปกรณ์ของฮัดเวย์กลาสตัวนี้ ข้อมูลการนำทางหรือการเตือนทั้งหลายจาก HUDWAY app บนหน้าจอสมาร์ทโฟนจะถูกสะท้อนขึ้นไปปรากฏอยู่บนแผ่นกระจกใสแผ่นนั้นด้วย ซึ่งถ้ามองจากมุมของคนขับรถยนต์สิ่งที่เห็นผ่านแผ่นกระจกนั้น ก็คือ ภาพของท้องถนนด้านหน้าและข้อมูลช่วยเหลือหรือนำทางผู้ขับขี่จากสมาร์ทโฟนที่ซ้อนทับกันอยู่นั่นเอง ทีนี้ระหว่างขับรถเราก็ไม่ต้องเสียเวลาเงยหน้าดูถนนข้างหน้าที ก้มหน้าดูแผนที่บนมือถือที หรือเงยหน้าดูถนนที ก้มหน้าดูมิเตอร์ความเร็วหรือมิเตอร์น้ำมันที อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแล้วล่ะครับ

เช่นเดียวกับหลาย ๆ เทคโนโลยีที่ผมได้เคยแนะนำผ่านคอลัมน์วันพุธของผมไป ตัวฮัดเวย์กลาสเองก็มีจุดเริ่มต้นจากการระดมเงินทุนผ่านทางเว็บไซต์ Kickstarter เว็บตัวกลางสำหรับให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมเป็นสปอนเซอร์ลงเงินสนับสนุนคนละเล็กคนละน้อยให้กับโครงการไอเดียล้ำ ๆ ที่ถูกใจได้

แนวคิดของการนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมมาช่วยเหลือผู้ขับขี่รถยนต์บนท้องถนนนั้นมีมานานแล้วและถูกนำเสนอในหลากหลายรูปแบบ ตัวฮัดเวย์กลาส นั้นในแง่หนึ่งก็ดูจะตอบโจทย์ในเรื่องของการใช้ง่าย ติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง แถมใช้ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่จากกรณีศึกษากูเกิลกลาสของบริษัทเสิร์ชเอนจินชื่อดังของโลกที่แม้ว่าจะโดดเด่นทางด้านนวัตกรรม แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในด้านยอดขายและการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน แถมยังโดนแบนเพราะไปผิดกฎหมายการขับขี่ของหลายรัฐหรือหลายประเทศทั่วโลกเหตุเพราะข้อความต่าง ๆ ที่เด้งเตือนขึ้นมาทำให้คนขับรถยนต์เสียสมาธิกับการขับขี่ไป

เราก็คงต้องรอดูกันต่อไปครับว่าฮัดเวย์กลาสจะเรียนรู้บทเรียนราคาแพงนี้ของกูเกิลกลาสและนำมาแก้ไขปรับปรุงให้เทคโนโลยีของตนได้ไปต่อและถูกใช้เป็นที่แพร่หลายไปได้จริงหรือไม่.

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 3,430 ครั้ง

คำค้นหา : มือถือสมาร์ทโฟนชื่อ HUDWAY app พัฒนาโดยทีมวิจัยจากประเทศรัสเซีย เทคโนโลยีเครื่องเทเลพรอมพ์เตอร์ เทคโนโลยีนี้มีไฮไลต์สำคัญอยู่ที่แผ่นกระจกใสเทคนิคการสะท้อนกระจกเพียงด้านเดียว เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม รถยนต์ที่เรียกว่าฮัดเวย์กลาสHUD ในฮัดเวย์กลาสมีที่มาจาก Head-Up Display คำว่า Way และคำว่า Glass กูเกิลกลาสกับเครื่องเทเลพรอมพ์เตอร์