“แอบ” เก็บข้อมูล และ “หลอก”

 “แอบ” เก็บข้อมูล และ “หลอก”

หมวดหมู่: บทความทั่วไปTip & Technicข่าวไอที

ข้อมูลของเรา กลายไปเป็นเงินของใคร 
ข้อมูลของเรา กลายไปเป็นเงินของใคร การวิจัยนี้ เก็บข้อมูลจากเว็บหนึ่งล้านอันดับแรกที่จาก Alexa ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า 78.07% ของเว็บไซต์เหล่านั้น มีการร้องขอข้อมูล (เพื่อการเก็บข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ)

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน เมื่อไม่นานมานี้ มีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยได้ลองค้นหาว่า มีผู้ให้บริการรายใดบ้าง ที่เก็บข้อมูลของเราไว้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในภายหลัง ซึ่งประโยชน์ที่ว่านี้ อาจเป็นไปเพื่อการพัฒนาการให้บริการของตนเอง หรืออาจเป็นไปได้ว่า เป็นการขายข้อมูลของเราให้ผู้ที่ต้องการ ซึ่งผู้ที่ต้องการเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน หากแต่เป็นบริษัทที่ทำงานด้านการตลาด ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลเหล่านี้ไป ก็สามารถนำไปวิเคราะห์ เพื่อขายของให้ตรงกับความต้องการของเราให้ได้มากที่สุด

ล่าสุดนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิล เวเนียได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ว่า มีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีการส่งข้อมูลของเราไปยังบริษัทอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการเก็บข้อมูลการเยี่ยมชม และที่สำคัญ คือ เว็บ ไซต์เหล่านั้นส่งข้อมูลออกไปให้ใครบ้าง

การวิจัยนี้ เก็บข้อมูลจากเว็บหนึ่งล้านอันดับแรกที่จาก Alexa ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า 78.07% ของเว็บไซต์เหล่านั้น มีการร้องขอข้อมูล (เพื่อการเก็บข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ) ไปยังโดเมนของกูเกิล ซึ่งแน่นอนว่า กูเกิลสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น ทั้งการค้นหา (Search) ซึ่งดูเหมือนเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนึกถึงเป็นอันดับแรก การใช้ประโยชน์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ หรือการสร้างโฆษณาข้าง ๆ ข้างบนผลการค้นหา ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ถัดมาเป็นเฟซบุ๊ก ซึ่งมีเว็บไซต์ 32.42% ที่ส่งร้องขอข้อมูลกลับไปยังเฟซบุ๊ก ถัดมาเป็น Akamai ซึ่งเป็นผู้ให้บริการพื้นที่แก่บริษัทใหญ่ ๆ หลายเจ้า จำนวน 23.31%

การส่งข้อมูลข้างต้นนี้ กูเกิลหรือเฟซบุ๊กและอื่น ๆ ไม่ได้เป็นผู้ร้องขอนะครับ หากแต่เป็นเจ้าของเว็บไซต์เองที่เป็นคน “ใช้บริการ” การเก็บข้อมูลเพื่อนำมาปรับปรุงการให้บริการของตัวเอง เช่น การคอยสำรวจว่า มีผู้ใช้เข้ามาเยี่ยมชมเป็นจำนวนเท่าใด เข้ามาช่วงเวลาใดบ้าง เป็นต้น

แต่ยังมีการ “แอบ” เก็บข้อมูล และ “หลอก” เก็บข้อมูลอีกมากมาย ที่หลายคนเผลอไผล หลวมตัวไปให้ข้อมูลแก่เขาเหล่านั้น โดยไม่รู้ตัว ผมยกตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ทั้งบนโทรศัพท์มือถือ หรือบนเว็บ ที่มักจะขอให้เราเข้าใช้ด้วยบัญชีเฟซบุ๊ก ตามรูปที่ผมแนบมาในบทความนี้นะครับ แต่แทนที่จะให้เราล็อกอินอย่างเดียว แต่กลับขอเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ของเราหลายอันทีเดียว และเมื่อเราอนุญาตปั๊บ ผู้ให้บริการเหล่านั้น ก็สามารถเข้ามาเอาข้อมูลของเราไปได้ ซึ่งก็อาจจะเอาไปวิเคราะห์ ไปตรวจสอบจริง ๆ เอาไปปรับปรุงการให้บริการของตนเอง เอาไปรวมกลุ่มกับข้อมูลอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งเอาข้อมูลของเราไปขาย เพื่อหาเงินเข้ากระเป๋าอีกทางหนึ่งก็เป็นไปได้ครับ

เพราะฉะนั้น เวลาที่จะใช้งานแอพพลิ เคชั่นอะไรก็แล้วแต่ อย่ามัวแต่ตื่นเต้น เล่นตามเพื่อนแต่อย่างเดียว ลองอ่านคำขออนุญาตให้ละเอียดสักนิด แล้วค่อยคลิกอนุญาตนะครับ.

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 4,156 ครั้ง

คำค้นหา : “แอบ” เก็บข้อมูล และ “หลอก” เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในภายหลัง เพื่อการพัฒนาการให้บริการของตนเองขายข้อมูลของเราให้ผู้ที่ต้องการบริษัทที่ทำงานด้านการตลาด เพื่อขายของให้ตรงกับความต้องการของเราเพื่อประโยชน์ในการเก็บข้อมูลการเยี่ยมชม เว็บ ไซต์เหล่านั้นส่งข้อมูลออกไปให้ใครบ้างกูเกิลสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น การใช้ประโยชน์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ การสร้างโฆษณาข้าง ๆ ข้างบนผลการค้นหา กูเกิลหรือเฟซบุ๊กและอื่น ๆ ไม่ได้เป็นผู้ร้องขออ่านคำขออนุญาตให้ละเอียดสักนิด