โรค Brownout Syndrome อาการของคนหมดใจ Passion หดหาย ไม่อยากทำงาน

โรค Brownout Syndrome อาการของคนหมดใจ Passion หดหาย ไม่อยากทำงาน

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

Brownout Syndrome อาการของคนหมดใจ Passion หดหาย ไม่อยากทำงาน หรือเรากำลังเป็นอยู่

  •  วัยทำงานอาจพอจะรู้จักกับภาวะ Burnout Syndrome หรืออาการหมดไฟ ทว่าหลังจากผ่านช่วงโควิด 19 มาก็มีอีกภาวะหนึ่งที่อาการรุนแรงกว่า นั่นคือ Brownout Syndrome หรือภาวะหมดใจในการทำงาน หมด Passion และทำให้คนลาออกจากงานกันเป็นว่าเล่น และมันไม่ได้จบแค่การว่างงานด้วยนะคะ เพราะหากปล่อยให้ตัวเอง Brownout เรื่อย ๆ อาจเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพจิตลามไปถึงปัญหาสุขภาพกายได้มากกว่าที่คิดเลยทีเดียว

 

Brownout Syndrome คืออะไร เกิดจากอะไร

  • Brownout Syndrome คือ ภาวะทางสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นในคนวัยทำงาน โดยคำว่า Brownout เป็นศัพท์ที่ยืมมาจากวงการไฟฟ้า ที่เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานหนักเกินไปก็จะถึงจุดที่ไฟตก (Brownout) ทำงานต่อไปไม่ไหว จึงนำมาอธิบายกับคนที่มีภาวะหมดใจ หมด Passion จนไม่อยากไปต่อกับการทำงานนั่นเอง และจะบอกว่าภาวะนี้อาการหนักกว่า Burnout Syndrome ด้วยนะคะ

 

Brownout Syndrome สาเหตุเกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้คนทำงานเกิดภาวะ Brownout Syndrome เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • ความเครียดสะสม
  • การทำงานหนักเกินไปจนไม่มี Work life Balance
  • สภาพแวดล้อมในองค์กรไม่ดีต่อใจ เข้มงวดจนเกินไป ไม่ยืดหยุ่น
  • การมีปัญหากับหัวหน้างาน หรือเพื่อนร่วมงาน จนบรรยากาศในการทำงานเสียไป
  • การได้รับค่าตอบแทนหรือการโปรโมตที่ไม่เหมาะสมกับแรงกายแรงใจที่ทุ่มเทไป
  • องค์กรไม่มีทิศทางการทำงานที่แน่ชัด ทำให้พนักงานไม่ทราบว่าทำงานไปเพื่ออะไรในแต่ละวัน

 

Brownout Syndrome ต่างจาก Burnout Syndrome อย่างไร

  • แม้ว่าจะเป็นภาวะทางสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นในคนวัยทำงานเหมือนกัน แต่ Brownout Syndrome จะแตกต่างจาก Burnout Syndrome ตรงที่จะไม่ใช่แค่การหมดไฟในการทำงานที่แสดงออกเป็นอาการทำงานได้น้อยลง หรือมีอารมณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนเท่านั้น แต่ Brownout จะเป็นฟีลที่หมดอาลัยตายอยากกับงานแบบหมดใจไปเลย แม้ได้พักผ่อนก็อาจจะยังไม่หาย

 

นอกจากนี้ ส่วนใหญ่คนที่มีภาวะนี้มักไม่รู้ตัวว่าเป็น รวมไปถึงในองค์กรก็อาจมองไม่ออกด้วยว่าพนักงาน Brownout เพราะเขายังสามารถทำงานได้ตามปกติ อาจจะมีผลงานโดดเด่นด้วยซ้ำ เพียงแต่ข้างในก็อาจหมดพลังลงไปเรื่อย ๆ หรืออาจหลบเลี่ยงงานบ่อยขึ้น ลาป่วยบ่อย เพราะ Brownout Syndrome อาจก่อปัญหาสุขภาพ เช่น ปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อตัว ออฟฟิศซินโดรมจากภาวะเครียดสะสม หรืออยู่ดี ๆ ก็อาจจะลาออกไปเลยในที่สุด

 

Brownout Syndrome อาการเป็นอย่างไร

  • หมด Passion ในการทำงาน ความกระตือรือร้นในการทำงานลดลง
  • รู้สึกว่าต้องทำงานหนักขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ หรือต้องใช้ความพยายามในการทำงานมากกว่าแต่ก่อน
  • ไม่อยากทำงานเกินเวลา ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนอาจไม่มีปัญหาเรื่องนี้เลย
  • ประสิทธิภาพในการตัดสินใจเรื่องสำคัญของการทำงานลดลง รวมไปถึงความสนใจในอาชีพที่ทำอยู่ก็อาจหมดลงไปด้วยเช่นกัน
  • รู้สึกกดดันจากการทำงาน รู้สึกโดนจ้องจับผิด
  • มีพฤติกรรมปลีกตัวออกจากสังคมเพื่อนร่วมงาน
  • เริ่มเฉยชากับคนรอบกาย ซึมลง ป่วยบ่อย เพราะใส่ใจตัวเองน้อยลง
  • ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทน้อยลง
  • หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียกับเรื่องเล็ก ๆ ทั้งที่ไม่เคยเป็น หรือในบางคนอาจมีปัญหาสุขภาพ เช่น ภูมิคุ้มกันต่ำลง เป็นหวัดง่าย เป็นภูมิแพ้ ปวดเมื่อยตามตัว เป็นออฟฟิศซินโดรม 

 

Brownout Syndrome แก้อาการไม่อยากทำงานอย่างไรได้บ้าง

หากอยากหลุดพ้นจากภาวะหมดใจในการทำงาน เอาตัวเองที่เคยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกลับคืนมา ก่อนตัดสินใจยื่นใบลาออก ลองปรับตัวตามนี้ดู

  • พูดคุยกับหัวหน้างานถึงสาเหตุที่ทำให้รู้สึก Brownout เช่น การขึ้นเงินเดือน การปรับตำแหน่งงาน หรือภาระงานในความรับผิดชอบที่คุณอยากให้องค์กรปรับให้เหมาะสมกว่านี้ หรือลองหาทางออกร่วมกัน
  • พูดคุยหรือร่วมกิจกรรมกับเพื่อนร่วมงานให้มากขึ้น
  • อาจหาโอกาสลาพักใจตัวเองสักพัก เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
  • พยายามจัดเวลาในชีวิตให้ดี ให้มี Work life Balance ที่เหมาะสม
  • หางานใหม่ เผื่อจะเจอ Passion ใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้
  • หากยังไม่ดีขึ้น ลองปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ เพื่อหาเป้าหมายชีวิต

         

อย่างไรก็ตาม ภาวะ Brownout Syndrome ต้องแก้ที่องค์กรหรือหัวหน้างานด้วย ดังนั้นถ้ายังอยากไปต่อกับองค์กรเดิม ลองพิจารณาให้ดีว่าสาเหตุของการ Brownout คืออะไร แล้วลองหาวิธีปรับจูนเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นปกติสุข

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Thai PBS, jobs DB, bia.ro

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย Nong-beam
เข้าชม 434 ครั้ง

คำค้นหา : โรคbrownout syndromeภาวะทางสุขภาพจิตวัยทำงานปัจจัยการทำงานรูปแบบการทำงานsyndrome