ประเทศไทยรั้งอันดับ 5 โดนโจมตีผ่านเว็บสูงสุดใน SEA

ประเทศไทยรั้งอันดับ 5 โดนโจมตีผ่านเว็บสูงสุดใน SEA

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

ประเทศไทยรั้งอันดับ 5 โดนโจมตีผ่านเว็บสูงสุดใน SEA
แคสเปอร์สกี้ประกาศรายงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุดประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2019 ซึ่งเป็นรายงานข้อมูลวิเคราะห์เรื่องการโจมตีผ่านเว็บ ภัยคุกคามทั่วไป และแหล่งที่มาของภัยคุกคาม รายงานเปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้สามารถสกัดกั้นภัยไซเบอร์ผ่านเว็บที่คุกคามผู้ใช้ในประเทศไทยได้มากกว่า 2.7 ล้านรายการ ในช่วงระยะเวลาเพียงสามเดือน นอกจากนี้ยังแนะให้ผู้ใช้ปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดีในการใช้งานไซเบอร์ (Cyber Hygiene) เพื่อความปลอดภัยขณะออนไลน์ในทุกๆ วัน

จากข้อมูลของ Kaspersky Security Network หรือ KSN พบว่าในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ปี 2019 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้สามารถสกัดกั้นภัยไซเบอร์ผ่านเว็บที่คุกคามคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในประเทศไทยได้ทั้งสิ้น 2,791,987 รายการ คิดเป็นผู้ใช้จำนวน 17.9% ที่โดนโจมตีโดยภัยคุกคามผ่านเว็บ ทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 106 ของโลกที่โดนโจมตีขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จัดอยู่ในอันดับที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ฟิลิปปินส์อันดับที่ 7 มาเลเซียอันดับที่ 23 เวียดนามอันดับที่ 36 อินโดนีเซียอันดับที่ 40 และสิงคโปร์อันดับที่ 138

นายโย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ข้อมูลวิเคราะห์ด้านการโจมตีออนไลน์และภัยคุกคามทั่วไปชี้ว่า ประเทศไทยมีความปลอดภัยไซเบอร์มากกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการสังเกตุของผม ผู้ใช้คนไทยมีความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยไซเบอร์มากขึ้น ภาครัฐและองค์กรเอ็นเทอร์ไพรซ์กำลังเร่งต่อยอดการป้องกันการโจมตีออนไลน์ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรวางใจที่จำนวนภัยคุกคามน้อยลงเพราะแท้จริงแล้วกลับมีความซับซ้อนมากขึ้น ข้อมูลภัยคุกคามอัจฉริยะ หรือ Threat Intelligence จึงทวีความสำคัญมากขึ้นสำหรับทุกภาคอุตสาหกรรม”

คำแนะนำด้านสุขอนามัยที่ดีในการใช้งานไซเบอร์สำหรับบริษัทและองค์กร มีดังนี้

       - ให้ความรู้แก่พนักงานเรื่องความเสี่ยงต่างๆ เช่น กฏพื้นฐานในการไม่เปิดอีเมลจากคนที่ไม่รู้จัก รวมถึงการไม่เปิดไฟล์แนบและกด link
       - รณรงค์การมีพฤติกรรมที่ดีในการใช้พาสเวิร์ดในที่ทำงาน เช่น การใช้พาสเวิร์ดที่แตกต่าง และการเก็บรักษาพาสเวิร์ดไม่ให้พนักงานคนอื่นเข้าถึง
       - กำหนดระดับชั้นการเข้าถึง อนุญาตให้เข้าถึงเฉพาะผู้มีความจำเป็นเท่านั้น
       - เพิ่มข้อมูลภัยคุกคามอัจฉริยะเข้าสู่ระบบ อย่างเช่น Kaspersky Threat Intelligence เพื่อแจ้งข้อมูลเชิงลึกด้านภัยคุกคามไซเบอร์ที่จ้องโจมตีองค์กร
       - จัดฝึกอบรมความปลอดภัยไซเบอร์อย่างสม่ำเสมอ อัพเดทความรู้เรื่องภัยคุกคามล่าสุด และปรับปรุงพฤติกรรมของพนักงานเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

นางสาวเบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ปัจจุบันภัยคุกคามแพร่กระจายด้วยเทคนิคใหม่ๆ และยังใช้เทคนิคขั้นสูง การสร้างพฤติกรรมการใช้งานไซเบอร์ที่ดีนั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก สุขอนามัยทางไซเบอร์นั้นเปรียบได้กับสุขภาพร่างการของเราที่จะต้องได้รับการดูแลใส่ใจอย่างสม่ำเสมอ แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำให้ผู้ใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงก่อนที่จะสายเกินไป”

คำแนะนำเพื่อสุขอนามัยที่ดี 10 ประการสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป นอกเหนือไปจากการเลือกใช้โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัย มีดังนี้

1.ใช้พาสเวิร์ดที่แข็งแกร่งและไม่ซ้ำกันในแต่ละแอคเคาท์ – เปลี่ยนพาสเวิร์ดอย่างสม่ำเสมอ หากแอคเคาท์โดนรุกล้ำให้รีบเปลี่ยนพาสเวิร์ดทันที
2.กรอกข้อมูลเฉพาะเว็บที่ปลอดภัย – ส่งข้อมูลผ่านเว็บไซต์ https เท่านั้น ซึ่งข้อมูลจะเข้ารหัสและปลอดภัย
3.อัพเดทซอฟต์แวร์ – เช็คและอัพเดทซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ
4.ปกป้องดีไวซ์ – ล็อกจออยู่เสมอโดยใช้พินหรือพาสเวิร์ดเพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยง่าย สแกนดีไวซ์เพื่อตรวจสอบมัลแวร์และอัพเดทซอฟต์แวร์หมดอายุ
5.ระวังกลโกงฟิชชิ่ง – ศึกษาข้อมูลเพื่อรู้ทันเทคนิคกลโกง ระแวดระวังสงสัยเวลาได้รับอีเมลต่างๆ
6.ไม่แชร์โลเกชั่น – ปิดฟังก์ชั่นโลเกชั่นในโทรศัพท์และกล้องถ่ายรูป ไม่แชร์รูปที่บ่งบอกสถานที่อยู่ในปัจจุบัน
7.ระวังการแชร์ข้อมูลส่วนตัว – ไม่แชร์ข้อมูลมากเกินไป และหมั่นตรวจสอบว่าข้อมูลรั่วไหลไปแหล่งอื่นหรือไม่
8.ใช้ระบบการยืนยันตัวตนผ่านสองขั้นตอน – ใช้ระบบสองขั้นตอนกับแอคเคาท์ที่สำคัญเพื่อเพิ่มความปลอดภัย
9.ใช้ WiFi ที่ปลอดภัย – อัพเดทความปลอดภัยของ WiFi ที่ใช้ในบ้าน และสร้างแอคเคาท์ VPN จากผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ
10.สำรองข้อมูล – สำรองข้อมูลในดีไวซ์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงตรวจสอบคุณภาพของฮาร์ดไดรฟ์ที่ใช้เก็บข้อมูล

ตัวเลขสถิติไตรมาส 4 ปี 2019 ของประเทศไทยที่น่าสนใจ

ภัยคุกคามผ่านเว็บ

       - ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับและสกัดภัยคุกคามผ่านเว็บได้ 2,791,987 รายการ จากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ร่วมกับ KSN
       - ผู้ใช้จำนวน 9% ถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามผ่านเว็บ
       - ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 106 ของโลกที่โดนโจมตีขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต

ภัยคุกคามทั่วไป

       - ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับและสกัดภัยคุกคามทั่วไปได้ 12,771,554 รายการ จากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ร่วมกับ KSN
       - ผู้ใช้จำนวน 4% ถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามทั่วไป
       - ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 83 ของโลก

แหล่งที่มาของภัยคุกคาม

       - มีเหตุการณ์ที่เกิดจากเซิฟเวอร์ในประเทศไทยทั้งสิ้น 82,963 เหตุการณ์ คิดเป็นสัดส่วน 02% จากทั่วโลก
       - ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 42 ของโลก
       - ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับ 1 คิดเป็นตัวเลขสัดส่วน 84%

ข้อมูลนี้ แคสเปอร์สกี้ได้รับจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ที่อนุญาตให้ KSN ด้วยความสมัครใจ ผู้ใช้จำนวนหลายล้านคนจากทั่วโลกได้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อวิเคราะห์กิจกรรมมุ่งร้ายทางไซเบอร์ ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากรายงาน Global Kaspersky Security Bulletin for Q4 2019 ได้ที่เว็บ Securelist.com

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย เอ็นโอไอ ไอทีจีเนียส
เข้าชม 1,182 ครั้ง

คำค้นหา : แคสเปอร์สกี้kaspersky security networkแชร์ข้อมูลส่วนตัวแชร์โลเกชั่นอัพเดทซอฟต์แวร์ปกป้องดีไวซ์สำรองข้อมูลภัยคุกคามผ่านเว็บองค์กรเอ็นเทอร์ไพรซ์การโจมตีออนไลน์threat intelligence