โลกออนไลน์แฝงภัย โจรร้าย

โลกออนไลน์แฝงภัย โจรร้าย

หมวดหมู่: บทความทั่วไปTip & Technicข่าวไอที

อึ้ง! โลกออนไลน์แฝงภัย 'โจรร้าย' พัฒนาวิธีหลอกเหยื่อ เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว
ไซแมนเทคเผยสถิติภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ต พบปี 2558 ทั่วโลกมีช่องโหว่เพิ่มขึ้นถึง 125% มัลแวร์ขยายจำนวนถึง 430 ล้านรายการ เช่นเดียวกับการโจมตีเพื่อเรียกค่าไถ่และการลวงผ่านโซเชียล โจรออนไลน์พัฒนาวิธีโกงให้แนบเนียนขึ้น...

นายฮาลิม ซานโตโซ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมระบบประจำภูมิภาคอาเซียน ไซแมนเทค เปิดเผยว่า รายงานภัยคุกคามความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตฉบับที่ 21 ของไซแมนเทค ระบุว่า อาชญากรรมไซเบอร์มีการยกระดับการโจมตีเพื่อเพิ่มโอกาสและเป้าหมายในการโจมตีทั้งในระดับองค์กรและผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป

"ไม่ใช่แค่การโจมตีที่เพิ่มจำนวนขึ้น แต่ปัจจุบันอาชญากรไซเบอร์ยังมีการสร้างรูปแบบใหม่ๆ และประสิทธิภาพในการหลอกลวงเพิ่มขึ้น เช่น การสร้างระบบคอลเซ็นเตอร์เพื่อลวงเหยื่อ ขณะเดียวกัน การใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นของคนไทยก็ทำให้ไทยติดอยู่ในอันดับที่ 11 ในภูมิภาค และอันดับที่ 52 ของโลก ในด้านการหลอกลวงทางโซเชียล ส่วนในภาคธุรกิจพบว่าธุรกิจค้าส่งถือเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงสุดในไทยด้วยสัดส่วนถึง 75% ของการหลอกลวงผ่านอีเมล์แบบเจาะจงบุคคล ขณะเดียวกัน การที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการใช้งานอุปกรณ์ประเภทโมบายล์มากขึ้น จากการมาของ 4จี การใช้งานอุปกรณ์ใหม่ๆ รวมถึงแนวโน้มการใช้งาน Internet of Things (IoT) จึงทำให้รูปแบบการโจมตีผ่านแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์โมบายล์มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย"

นอกจากนี้ ในปี 2558 มีการตรวจพบช่องโหว่ใหม่ๆ จากทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัว คิดเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 125% เช่นเดียวกับมัลแวร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีจำนวนถึง 430 ล้านรายการ และการโจมตีเพื่อเรียกค่าไถ่ (Ransomware) ซึ่งการโจมตีประเภทรุนแรงมีการขยายตัวถึง 35% ในปีที่ผ่านมา โดยการแพร่กระจายจากคอมพิวเตอร์พีซีไปสู่สมาร์ทโฟน รวมถึงระบบปฏิบัติการ Mac และ Linux ทำให้ประเทศไทยตกเป็นเป้าหมายอันดับที่ 11 ของการโจมตีของไวรัสเรียกค่าไถ่ในระดับภูมิภาค ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการโจมตีเฉลี่ย 14 ครั้งต่อวัน

ทั้งนี้ องค์กรทั่วโลกยังมีปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งมีอัตราตกเป็นเป้าหมายถึง 3 ครั้งต่อปี ขณะเดียวกัน ข้อมูลส่วนบุคคลก็มีปัญหาดังกล่าวและพบว่ามีข้อมูลส่วนบุคคลกว่า 429 ล้านรายการถูกเปิดเผย รวมถึงบันทึกข้อมูลที่สูญหายของบริษัทต่างๆ ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลก็มีสัดส่วนถึง 85% อย่างไรก็ตาม ไซแมนเทคคาดว่าในปีที่ผ่านมาทั่วโลกอาจมีข้อมูลส่วนบุคคลถูกเปิดเผยหรือสูญหายมากกว่า 500 ล้านรายการ

ขณะเดียวกัน ความนิยมในกิจกรรมทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้อาชญากรออนไลน์เลือกช่องทางการโจมตีในรูปแบบดังกล่าวมากขึ้นด้วย ด้วยรูปแบบการหลอกลวงแบบเดิมๆ แต่มีบริการสนับสนุนด้านเทคนิคเพิ่มขึ้นถึง 200% อาทิ การส่งข้อความคำเตือนปลอมไปยังสมาร์ทโฟน เพื่อหลอกให้เหยื่อโทรกลับไปยังคอลเซ็นเตอร์ที่คนร้ายสร้างขึ้น และหลอกให้เหยื่อซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ที่ไม่มีจริง เป็นต้น.

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 3,537 ครั้ง

คำค้นหา : โลกออนไลน์แฝงภัย พัฒนาวิธีหลอกเหยื่อ ไซแมนเทคภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ตการโจมตีเพื่อเรียกค่าไถ่การลวงผ่านโซเชียล โจรออนไลน์พัฒนาวิธีโกงนายฮาลิม ซานโตโซยกระดับการโจมตีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต