วิธีเซ็นชื่อรับรองสำเนาเอกสารประเภทอื่น

 วิธีเซ็นชื่อรับรองสำเนาเอกสารประเภทอื่น

หมวดหมู่: บทความทั่วไปTip & Technicข่าวไอที


วิธีเซ็นชื่อรับรองสำเนาเอกสารประเภทอื่น ๆ

          สำหรับการเซ็นรับรองสำเนาเอกสารประเภทอื่น ๆ จะมีหลักการคล้ายกับบัตรประชาชนเช่นกัน (อาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละหน่วยงาน) ซึ่งควรจะระบุวัตถุประสงค์และรายละเอียดตามการใช้งาน เช่น…

 

การเซ็นสำเนาถูกต้อง เพื่อใช้ทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคาร

          เช่น สมัครบัตรเครดิต เปิดบัญชีธนาคาร ขอสเตตเมนต์ (Statement) จัดไฟแนนซ์ ควรระบุวัตถุประสงค์ รายละเอียด ชื่อประเภทบัญชี หรือโครงการที่ต้องการสมัครให้ชัดเจน เช่น
          - เพื่อใช้เปิดบัญชี (...ชื่อประเภทบัญชี...) กับธนาคาร (...ชื่อธนาคาร...) เท่านั้น
          - เพื่อใช้สมัครบัตร (...ชื่อบัตรเครดิต/บัตรเดบิต...) กับธนาคาร (...ชื่อธนาคาร...) เท่านั้น
          - เพื่อใช้ขอสินเชื่อ (..ชื่อโครงการสินเชื่อ....) กับทางธนาคาร (...ชื่อธนาคาร...) เท่านั้น

 

การเซ็นสำเนาถูกต้อง เพื่อใช้สมัครงาน

          ส่วนมากจะใช้สำเนาบัตรประชาชน สำเนาใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) และสำเนาใบรับรองวุฒิการศึกษา ควรระบุวัตถุประสงค์ รายละเอียดตำแหน่ง และชื่อบริษัทให้ชัดเจน เช่น
          - เพื่อใช้ในการสมัครงานตำแหน่ง (...ชื่อตำแหน่งงาน...) ที่บริษัท (...ชื่อบริษัท...) เท่านั้น

 

การเซ็นสำเนาถูกต้อง เพื่อใช้สมัครเรียน

          เอกสารที่มักใช้ก็อย่างเช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาสูติบัตร สำเนาใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) หรือสำเนาใบรับรองวุฒิการศึกษา เป็นต้น โดยควรระบุวัตถุประสงค์ รายละเอียดโครงการที่สมัคร ชื่อสถาบัน ชื่อคณะ หรือสาขาวิชาให้ชัดเจน เช่น
          - เพื่อใช้ในการสมัคร (...ชื่อโครงการที่สมัคร...) ที่ (...ชื่อมหาวิทยาลัย...) เท่านั้น
          - เพื่อใช้สมัครเรียน (...ชื่อคณะ หรือสาขาวิชา...) ที่ (...ชื่อมหาวิทยาลัย...) เท่านั้น

 

การเซ็นสำเนาถูกต้อง เพื่อใช้ติดต่อราชการ

          ไม่ว่าจะเป็นการใช้สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาสูติบัตร สำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาพาสปอร์ต ฯลฯ ควรระบุวัตถุประสงค์ รายละเอียดให้ชัดเจน เช่น
          - เพื่อใช้ (...ระบุวัตถุประสงค์...) เท่านั้น

     

    นอกจากนี้ การเซ็นชื่อรับรองสำเนาเอกสารต่อหน้าเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานที่เราติดต่อเพื่อทำธุรกรรม ย่อมปลอดภัยกว่าการเซ็นชื่อรับรองสำเนาเอกสารแล้วส่งทางไปรษณีย์ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่เอกสารดังกล่าวอาจตกหล่นสูญหาย หรืออาจถูกมิจฉาชีพนำไปดัดแปลงแก้ไขจนสร้างความเดือดร้อนให้โดยไม่รู้ตัว

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการปกครอง, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ธนาคารกรุงไทย

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย Nong-beam
เข้าชม 165 ครั้ง

คำค้นหา : การเซ็นสำเนาแบบการเซ็นต่างๆตัวอย่างการเช็นการเซ็นสำเนาถูกต้องขั้นตอนวิธีการขั้นตอนเอกสารการประทับลายเซ็นการเขียนรายละเอียดการแนบสำเนาตัวอย่างการเซ็นต่าง